ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาวาร์ฟารินของผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความร่วมมือในการใช้ยาและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาวาร์ฟารินของผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเชิงพรรณนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินทุกคนที่มารับบริการที่คลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลน้ำเกลี้ยง จำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามชนิดสัมภาษณ์ (Interviewed questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุดและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับความร่วมมือในการใช้ยาวาร์ฟารินของผู้ป่วยโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s correlation) รวบรวมข้อมูลตั้งแต่ พฤศจิกายน 2564 – กุมภาพันธ์ 2565
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมในระดับมาก มีระดับความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาวาร์ฟาริน อยู่ในระดับปานกลาง และมีระดับความร่วมมือในการใช้ยาอยู่ในระดับดี เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาวาร์ฟารินของผู้ป่วย พบว่าการสนับสนุนทางสังคมและค่า INR มีความสัมพันธ์ทางลบกับความร่วมมือในการใช้ยา ( r=-.103 และ -.152 ตามลำดับ)** สำหรับความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาวาร์ฟาริน อาชีพ และระยะเวลาที่ได้รับยาวาร์ฟาริน พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความร่วมมือในการใช้ยาวาร์ฟาริน ( r= .165, .157 และ .121 ตามลำดับ)** และในส่วนของปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส โรคที่เป็นร่วม รูปแบบการใช้ยาวาร์ฟาริน และการเกิดเลือดออกผิดปกติ พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาวาร์ฟารินของผู้ป่วย ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าแรงสนับสนุนทางสังคม จากครอบครัว ญาติและบุคลากรด้านสาธารณสุขเป็นส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือและการรักษาผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน ควรมีการออกแบบและพัฒนาการออกบริการเยี่ยมบ้านแบบทีมสหวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการใช้ยาวาร์ฟารินในการรักษาโรค
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว