คุณภาพทางจุลชีววิทยาของวัตถุดิบและยาแคปซูลฟ้าทะลายโจร ที่ผลิตในโรงพยาบาลของรัฐ ในเขตสุขภาพที่ 10
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ฟ้าทะลายโจรมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees อยู่ในวงศ์ Acanthaceae มีสารสำคัญคือสารกลุ่ม lactone เช่น andrographolide ได้รับการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในปีพ.ศ. 2562 เป็นยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินอาหาร กลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจ ปัจจุบันนำมาใช้อย่างแพร่หลายในโรงพยาบาลของรัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี จึงสนใจศึกษาคุณภาพทางชีววิทยาของวัตถุดิบและยาแคปซูลฟ้าทะลายโจรที่ผลิตในโรงพยาบาลของรัฐ ในเขตสุขภาพที่ 10 เพื่อศึกษาการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในตัวอย่างวัตถุดิบและยาแคปซูลฟ้าทะลายโจรที่ผลิตในโรงพยาบาลของรัฐ ในเขตสุขภาพที่ 10 โดยทดสอบตัวอย่างวัตถุดิบและยาแคปซูลฟ้าทะลายโจรตามตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (Thai Herbal Pharmacopoeia 2021) ในหัวข้อ Total aerobic microbial count, Total combined yeasts and moulds count, Bile-tolerant gram-negative bacteria, Escherichia coli, Clostridium spp. และSalmonella spp. จำนวน 65 ตัวอย่าง พบว่า ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 2 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 3.1 และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 63 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 96.9 สาเหตุคือตรวจพบ Total aerobic microbial count 40 ตัวอย่าง Total combined yeasts and moulds count 37 ตัวอย่าง Bile-tolerant gram-negative bacteria 59 ตัวอย่าง Escherichia coli 26 ตัวอย่าง Salmonella spp. 2 ตัวอย่าง และ Clostridium spp. 55 ตัวอย่าง การศึกษานี้แสดงให้เห็นได้ว่าตัวอย่างวัตถุดิบและยาแคปซูลฟ้าทะลายโจรที่ผลิตในโรพยาบาลของรัฐ ในเขตสุขภาพที่ 10 ยังมีการตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งถือว่าไม่ได้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน หากจะใช้เป็นยาในการรักษาโรคจำเป็นต้องแจ้งข้อมูลให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อแจ้งเตือนประชาชน และแจ้งผู้ผลิตเพื่อทำการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานต่อไป
คำสำคัญ: วัตถุดิบ ยาแคปซูลฟ้าทะลายโจร โรงพยาบาลของรัฐ และคุณภาพทางจุลชีววิทยา
1เภสัชกรชำนาญการ กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี
1Pharmacist, Professional Level. Department of Consumer Protection and Public Health,
Regional Medical Sciences center 10 Ubonratchathani. E-mail: k_muj@hotmail.com
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว