การพัฒนาระบบงานเภสัชสนเทศเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพงานระบบยา รพ.ลำพูน พ.ศ. 2558-2562
คำสำคัญ:
ระบบงานเภสัชสนเทศ, คุณภาพงานระบบยา, การพัฒนาระบบงานเภสัชสนเทศบทคัดย่อ
งานวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาระบบงานเภสัชสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพระบบยา เพื่อพัฒนาระบบงานเภสัชสนเทศให้เป็นกลไกสำคัญขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพระบบยา และประเมินผลการพัฒนาระบบงานเภสัชสนเทศในการเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาคุณภาพระบบยา รพ.ลำพูน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เภสัชกรในกลุ่มงานเภสัชกรรมรพ.ลำพูน วิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบการพัฒนาโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน โดยวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นตรงแบบพหุด้วย Excel 2019 ผลการศึกษาพบว่า (1) การพัฒนาแนวทางปฏิบัติเภสัชกรรมแบบบูรณาการ พ.ศ.2558-2562 ส่งผลต่อมาตรฐานระบบยาและการบรรลุความสำเร็จของตัวชี้วัดการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลของเขตสุขภาพที่ 1 และกระทรวงสาธารณสุข (2) การพัฒนาตัวแบบปัจจัยความสำเร็จ 10 ประการ ขับเคลื่อนระบบเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในรพ.ลำพูนและเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมืองลำพูน พ.ศ. 2560-2562 ทำให้รพ.ลำพูนมีคะแนนคุณภาพตามเกณฑ์ของศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ปี 2560-2562 เท่ากับ 5.0 ทุกปี คะแนนคุณภาพและจำนวนรายงานปี 2560-2562 เท่ากับ 7.60, 9.51 และ 8.60 เป็นลำดับ 8 ของประเทศ และอันดับ 6 ของกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2560 และเป็นลำดับ 2 ของประเทศ และลำดับ 1 ของกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2561-2562 มีอัตรารายงานมากกว่า 500 ต่อล้านประชากร เทียบเท่ากับกลุ่มประเทศสมาชิกขององค์การอนามัยโลกที่มีอัตราการรายงานมากที่สุด (3) การพัฒนาระบบการบันทึกและประเมินค่างานทางเภสัชกรรมด้านการจัดการปัญหาเภสัชบำบัด พ.ศ. 2560-2562 พบว่าค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ในการจัดการปัญหาเภสัชบำบัด (SumRwDTP ) เฉลี่ยคนละ 5,669.10±7,435.64 คะแนนคุณภาพการจัดการปัญหาเภสัชบำบัด (CmiDTP) เท่ากับ 17.34 ± 12.14 เท่ากับระดับคุณภาพเฉลี่ยระดับ 2 หรือระดับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ ( Experience Level ; CmiDTP=16-30 )ปัจจัยที่มีผลต่อ CmiDTP ประกอบด้วย FTE Clinic , FTE จ่ายยา และอายุงาน (Multiple R = 0.7626 ; Adjust R Square = 0.5327 ) และระดับคุณภาพการจัดการปัญหาเภสัชบำบัด ( Drug Therapist level ) ของกลุ่มตัวอย่างเภสัชกรจำนวน 30 คน ประกอบด้วยคุณภาพระดับ 3 หรือ Advanced Level (CmiDTP= 31-45) จำนวน 3 คน (10%) คุณภาพระดับ 2 หรือ Experience Level (CmiDTP = 16-30 ) จำนวน 15 คน (50%) และคุณภาพระดับ 1 หรือ Practitioner Level ( CmiDTP<15.00) จำนวน 12 คน (40%) การพัฒนาแนวทางปฏิบัติแบบบูรณาการ ตัวแบบปัจจัยความสำเร็จ และระบบบันทึกและประเมินค่างานทางเภสัชกรรม เป็นนวัตกรรมที่ส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพงานระบบยา ควรมีการพัฒนาต่อยอด และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว