การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน ของผู้รับบริการโรงพยาบาลบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • เกศินี นันทมานพ โรงพยาบาลบางบาล

คำสำคัญ:

ยาปฏิชีวนะ, ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม, ผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้, ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน ของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้รับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 112 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเพื่อวัดความรู้, ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์ทางสถิติใช้ Chi-square test กำหนดนัยสำคัญที่ P < 0.05 รวบรวมข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 – 31 ธันวาคม 2565

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 112 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.2 อายุ 51 – 60 ปี ร้อยละ 37.8 สถานภาพสมรส ร้อยละ 59.8 ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 43.8 จบชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 49.1 มีรายได้เฉลี่ย 5,001 – 10,000 บาท ร้อยละ 43.8 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ระดับปานกลาง ร้อยละ 49.1(  =5.84, S.D.=2.07) มีทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 56.3 ( =3.55, S.D.= 0.46) มีระดับการปฏิบัติพฤติกรรมในการใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 65.2 ( =2.31, S.D.= 0.26) ความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.046) และทัศนคติเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.017) ดังนั้นถ้าประชาชนมีความรู้และทัศนคติที่ดีในการใช้ยาปฏิชีวนะก็จะทำให้มีการปฏิบัติในการใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เราจึงควรวางแผนพัฒนางานในการให้ความรู้แก่ผู้มารับบริการทุกครั้งที่มีการจ่ายยาปฏิชีวนะ เพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลอย่างยั่งยืน

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-23