ผลของการพัฒนาการให้คำแนะนำการขออนุญาตโฆษณาสถานพยาบาลเอกชนในจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วาสิฏฐี ตั้งสัตยาธิษฐาน -

คำสำคัญ:

การโฆษณา, สถานพยาบาลเอกชน, การคุ้มครองผู้บริโภค

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนกลับ  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การขออนุญาตโฆษณา ลักษณะคำหรือข้อความที่ใช้ในการยื่นขออนุญาตโฆษณาและเพื่อศึกษาผลของการพัฒนาการให้คำแนะนำการขออนุญาตโฆษณาสถานพยาบาลเอกชนในจังหวัดอุดรธานี  โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากคำขออนุญาตโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาลเอกชนในจังหวัดอุดรธานี ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ เดือนสิงหาคม 2563  ถึง มกราคม  2565 ของสํานักงานสาธารณสุขอุดรธานี โดยผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อสรุปใจความสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า คำขออนุญาตโฆษณาสถานพยาบาลเอกชนในจังหวัดอุดรธานี   มีจำนวนทั้งหมด  68 ฉบับ เป็นสถานพยาบาลประเภทคลินิกเวชกรรม ร้อยละ 50 รองลงมาคือ โรงพยาบาลเอกชน ร้อยละ 42.65 และ คลินิกเวชกรรมเฉพาะทาง ร้อยละ 4.41 ตามลําดับ ช่องทางที่ขออนุมัติโฆษณามากที่สุด คือ โปสเตอร์ ร้อยละ  38.24 รองลงมาคือ เฟซบุ๊ก ร้อยละ 22.06  และ แผ่นป้าย ร้อยละ 20.59 ตามลำดับ พบลักษณะเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมซึ่งไม่เป็นไปตามประกาศกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไขและค่าใช้จ่ายในการโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล พ.ศ. 2562 และข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549  จากผลการศึกษาที่พบลักษณะเนื้อหาในลักษณะคำที่ไม่สามาถใช้โฆษณาได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเกิดจากผู้ประกอบการขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านการโฆษณาสถานพยาบาล ผู้วิจัยจึงรวบรวมข้อมูลและพัฒนาเป็นนวัตกรรมแผ่นชาร์ตคำแนะนำการขออนุญาตโฆษณาสถานพยาบาลของจังหวัดอุดรธานีขึ้น  เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการสถานพยาบาลเอกชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและการใช้คำในการโฆษณาสถานพยาบาลที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ผลการใช้นวัตกรรมแผ่นชาร์ตนี้ร่วมกับการให้คำแนะนำเรื่องการโฆษณาสถานพยาบาลเอกชน จากผู้วิจัยทำให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องมากขึ้นและเป็นการส่งเสริมคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับข้อมูลที่เหมาะสมในด้านการโฆษณาสถานพยาบาลต่อไป

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-23