ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการใช้กัญชาทางการแพทย์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดพิจิตร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการใช้กัญชาทางการแพทย์ (2) ประเมินระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ และ (3) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการใช้กัญชาทางการแพทย์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดพิจิตร กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 476 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Binary Logistic Regression Analysis ผลการวิจัย พบว่า (1) หากต้องใช้กัญชาทางการแพทย์ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาบรรเทาโรค ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.32 ต้องการใช้กัญชาทางการแพทย์ โดยโรคที่ต้องการใช้มากที่สุด คือ โรคมะเร็ง ร้อยละ 46.37 (2) ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ ภาพรวมอยู่ในระดับ มีปัญหา เมื่อวิเคราะห์แยกรายด้าน พบว่า ด้านการเข้าใจข้อมูล ด้านการประเมินผลข้อมูล และด้านการประยุกต์ใช้ข้อมูล อยู่ในระดับมีปัญหา มีเพียงด้านการเข้าถึงข้อมูล ที่อยู่ในระดับเพียงพอ และ (3) ความรู้ อยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ย 66.55 (S.D.=15.90) ทัศนคติ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยที่ 32.61 (S.D.=4.03) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการใช้กัญชาทางการแพทย์ คือ การมีโรคประจำตัว (p= .037) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (p= .000) ทัศนคติ (p= .044) และการได้รับข้อมูลข่าวสาร (p= .000) จากผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่า อสม. ส่วนใหญ่มีปัญหาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ ทัศนคติและความรู้อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง จึงควรเร่งเสริมสร้างความรู้ที่ถูกต้องเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว