การพัฒนาแนวทางการใช้เครื่องมือ web application TaWai For Health ในการรายงานและติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยากลุ่มผู้ป่วย โรคไม่ติดต่อเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • รุ่งนภา กงวงษ์ -

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการใช้เครื่องมือ TaWai For Health ในการรายงานและติดตามอาการ ADR ในกลุ่มผู้ป่วย NCDs รพ.สต. อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี วิธีดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการขอบเขตการศึกษากลุ่มผู้ป่วย NCDs เก็บข้อมูลโดยเครื่องมือ TaWai For Health และพัฒนาแนวทางโดยกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างมีร่วมของผู้ปฏิบัติงาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละและวิเคราะห์เนื้อหา ช่วงเวลาดำเนินการ มกราคม 2565 – มกราคม 2566  

ผลการศึกษากลุ่มผู้ป่วย NCDs  3,998 คน พบเกิด ADR  67 คน คิดเป็นร้อยละ 1.7  โดยยาที่เป็นสาเหตุมากที่สุดคือ Enalapril, Amlodipine , Metformin และ Glipizide ตามลำดับ ประเภท ADR เกิดจากผลข้างเคียงจากยาร้อยละ  92.5  และแพ้ยาร้อยละ 7.5  อาการของผู้ป่วยทุกรายอยู่ในระดับไม่รุนแรง ประเมินความสัมพันธ์อยู่ในระดับใช่แน่นอนร้อยละ 49.3  และระดับน่าจะใช่ร้อยละ 50.7  สำหรับแนวทางการใช้งานเครื่องมือ TaWai For Health ในการรายงานและติดตาม ADR  ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน 1. ตรวจจับปัญหา ADR ของผู้ป่วยตามแนวทางที่กำหนด 2.ซักประวัติและผลประเมินความสัมพันธ์อาการ 3. แก้ไขปัญหาและให้คำแนะนำผู้ป่วย 4. รวบรวมข้อมูลบันทึกรายงานในระบบ TaWai For Health 5. ลงข้อมูล ADR ในฐานข้อมูล รพ.และ รพ.สต. ป้องกันการแพ้ยาซ้ำ  6.ส่งรายงานให้ศูนย์ HPVC  6. วิเคราะห์สถานการณ์ความไม่ปลอดภัยด้านยาสะท้อนข้อมูลให้ผู้รับผิดชอบงานและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบทุก 3 เดือน  

ข้อเสนอแนะ ผู้ใช้งานเครื่องมือTaWai For Health ควรศึกษาระบบการใช้งานให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งเพื่อความสะดวกในการลงรายงานและข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสมบูรณ์ครบถ้วน สามารถสะท้อนข้อมูลและการจัดการปัญหาที่ตรงประเด็นปัญหาพื้นที่

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-23