การพัฒนารูปแบบการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดกับใช้ยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ส่งไปรักษาต่อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในอำเภอม่วงสามสิบ

ผู้แต่ง

  • คำภีร์ เขตมนตรี -
  • ยุพดี พิมพ์ศิริ

บทคัดย่อ

           การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อพัฒนาหารูปแบบควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดกับการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่ส่งต่อไปดูแลรักษาต่อที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi - Experimental Research) ระหว่างเดือน1 เดือนธันวาคม 2565 ถึง 31 มกราคม 2566 โดยขั้นตอนที่1 สัมภาษณ์เชิงลึกขณะส่งมอบยา ณ ห้องจ่ายยา หรือขณะออกหน่วยรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) เพื่อค้นหาข้อมูลการใช้ยาและปฏิบัติตัวที่เป็นสาเหตุในการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ได้รูปแบบการปฏิบัติคือ ได้แก่ ทานอาหารและยาให้ตรงเวลา ข้าวเหนียวห้ามเกินเวลาเที่ยง ผลไม้ที่ Glycemic index<70 ไม่เกิน 7คำต่อวันและไม่เกินเทียง ออกกำลังกายตามความเหมาะสมอย่างน้อย 150นาทีหรือ3ครั้งต่อสัปดาห์  ขั้นตอนที่2 ทดลองเลือกพื้นที่อื่นในอำเภอแนะนำทดลอง 30คน 2เดือนว่าปฏิบัติได้มากกว่าร้อละ80พร้อมทั้งทดสอบเครื่องมือ ขั้นที่ 3 เป็นการทดลองนำไปปฏิบัติ เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่มี HbA1c 5-9.9% และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ขนาดตัวอย่างใช้ตาราง Krejcie และ Morgan จากกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่กำลังถูกส่งไปและถูกส่งรักษาต่อที่ รพ.สต.แล้วจาก  21 แห่ง โดยสุ่มแบ่งออกแบบการวิจัยแบบ 2 กลุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง ขนาดตัวอย่างกลุ่มละ 195 คน เลือกเผื่อไว้กลุ่มละ200คน แนะนำกลุ่มทดลองให้ปฏิบัติตามรูปแบบที่ได้จัดขึ้น และประเมินผลจากการนัดตรวจ HbA1c ประจำปีของแพทย์อีกระยะเวลา 12 เดือนต่อมา เครื่องมือเก็บข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างผ่านตรวจสอบความตรงและความถูกต้องทางภาษาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) เช่น ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด และสถิติเชิงอนุมานใช้ paired sample t-test และ, independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ p-value < 0.05 ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ย ความแปรปรวนก่อนทกดลองและ หลังทดลอง และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม  ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีผู้ปฏิบัติได้ตามรูปแบบแนะนำสม่ำเสมอได้147คนเป็นเพศชาย 52 คน หญิง 95คน  กลุ่มควบคุมเหลือจำนวน 186 รายคน เพศชาย 69 คน หญิง 117คน ทั้งสองกลุ่มมีอายุเฉลี่ย 59-60ปี ดัชนีมวลกาย จำนวนเพศ ระดับHbA1c เฉลี่ยมีความแปรปรวนไม่ต่างกัน   กลุ่มของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ขณะที่รักษาต่อเนื่องที่ รพ.สต.ที่ได้ปฏิบัติตามรูปแบบคำแนะนำของเภสัชกรในชีวิตประจำวันได้อย่างสม่ำเสมอสามารถลดระดับHbA1c อย่างมีนัยสำคัญ  (p-value < .05) ลดลงเฉลี่ย - 0.3279±1.03 หรือลดลง 4.18%   มีผู้ป่วย98รายในกลุ่มทดลอง(70%) มีค่าHbA1cลดลงเฉลี่ย0.89 หรือลดลง 10.88%   เมือเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมยังพบว่ากลุ่มทดลองทั้งหมดที่มีค่าHbA1c ลดลงได้ (M = -0.3279, SD =1.03) อย่างมีนัยสำคัญ (t(331) = -9.394, p-value< .05) มีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ปฏิบัติตามรูปแบบคำแนะนำ (M = 0.71, SD =0.97) จากการทำลองนี้ผู้ป่วยมีค่าcreatinine clearance เฉลี่ยระหว่างกลุ่มที่มีความแปรปรวนต่างกันอยู่ ดังนั้น จึงเห็นสมควรนำไปพัฒนาทดลองใช้เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลสะสมของผู้ป่วยเบาหวานให้เข้ากับกิจวันประจำวันของผู้ป่วยอย่างเหมาสม โดยเพิ่มความเข้าใจถึงเหตุที่ต้องรับประทานยา อาหารให้ตรงเวลา ควบคุมพลังงานและการออกกำลังกายอย่างเข้มงวดน่าจะช่วยทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมได้ในระดับดี และลดอาการแทรกซ้อนได้ต่อไป

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-23