การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังติดตามการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำจังหวัดชัยนาท
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังติดตามการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำจังหวัดชัยนาท แบ่งการศึกษาเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน ศึกษารูปแบบ เดิมของการสำรวจร้านชำ ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติ การสร้างโปรแกรมประยุกต์สำรวจร้านชำ ขั้นตอนที่ 3 การสังเกต การสำรวจร้านชำทุกแห่ง ขั้นตอนที่ 4 การสะท้อนผล การคืนข้อมูลผลการสำรวจให้กับพื้นที่ ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนมิถุนายน – พฤศจิกายน 2566 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ประกอบการร้านชำทุกแห่งและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับอำเภอและตำบลในจังหวัดชัยนาท เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ โปรแกรมประยุกต์สำรวจร้านชำ และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้งานโปรแกรมฯ วิเคราะห์ข้อมูล โดยโปรแกรม Google Data Studio และ SPSS ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการสำรวจร้านชำจังหวัดชัยนาทเดิมใช้แบบสำรวจที่เป็นกระดาษ ซึ่งไม่สะดวกในการใช้งานและประมวลผลล่าช้า รวมถึงการคืนผลการสำรวจด้วยวิธีการส่งหนังสือแจ้งสาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง รูปแบบการสำรวจร้านชำที่พัฒนาขึ้น ใช้โปรแกรมประยุกต์สำรวจร้านชำ ที่สามารถลงข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือ แสดงผลการสำรวจแบบ Real time ในรูป Dashboard ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานโปรแกรมฯ พบว่ามีความพึงพอใจในภาพรวมมาก โดยมีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 3.7 คะแนน การคืนข้อมูลผลการสำรวจใช้วิธีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับเครือข่ายระดับอำเภอและตำบลซึ่งเป็นการสื่อสารสองทาง โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการประชุมคือ ผู้ประกอบการร้านชำสีแดง ซึ่งมีความเสี่ยงมากที่สุด ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการขยายผลนำรูปแบบการสำรวจโดยโปรแกรมประยุกต์ไปใช้ในการสำรวจประกอบการประเภทอื่น และควรมีการประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการก่อนและหลังเข้าร่วมประชุม
คำสำคัญ : ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร้านชำ
References
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (Rational Drug Use Community : RDU Community). กรุงเทพฯ: กลุ่มงานพัฒนาระบบสนับสนุนบริการ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
ภูธิป ศร่างเศร้า, ราชัน คงชุม. ปัจจัยที่มีผลต่อการจำหน่ายยาที่มิใช่ยาสามัญประจำบ้านของร้านชำในจังหวัดพัทลุง [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 23 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ptho.moph.go.th/ptvichakarn63/uploads/54598_0204_20200817234534.pdf
จันทร์จรีย์ ดอกบัว, รัตนาภรณ์ ขันติมัง, หทัยรัชต์ พุกสอาด, ณัฐพร สู่หนองบัว. สถานการณ์การจำหน่ายยาในร้านขายของชำ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ. [อินเตอร์เน็ต] วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (ออนไลน์). 2564; 1(1): 37-44. [เข้าถึงเมื่อ 25 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/251672
อัปสร บุญยัง, รุ่งทิวา หมื่นปา. ความชุกของการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมของร้านชำในจังหวัดพิษณุโลกและปัจจัยที่มีผล. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2562; 11(1): 105-18.
ปริชญา ยอดสะเทิ้น, สุมัทนา กลางคาร, บัณฑิต วรรณประพันธ์. การพัฒนากระบวนการเฝ้าระวังการจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐานในร้านชำ. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2563; 6(4): 27-38.
จินดาพร อุปถัมภ์, คณัฐวุฒิ หลวงเทพ, สิรีธร บัวขจร. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำจังหวัดศรีสะเกษ. [อินเตอร์เน็ต]. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (ออนไลน์). 2566; 3(1): 70-85. [เข้าถึงเมื่อ 25 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/260800
Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988
ธิดาพร อาจทวีกุล, วิรัติ ปานศิลา, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. การพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง การจำหน่ายยาอันตรายในร้านขายของชำในพื้นที่ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2559; 22(4): 497-509.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-07-09 (2)
- 2024-04-29 (1)
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว