การพัฒนารูปแบบศูนย์รับเรื่องบริการด้านสาธารณสุขแบบบูรณาการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • จารุรัตน์ พัฒน์ทอง กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ในการดำเนินงาน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ และ 3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นของศูนย์รับเรื่องบริการด้านสาธารณสุขแบบบูรณาการ โดยทำการศึกษาตามขั้นตอนออกแบบบริการภาครัฐ มุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน และเพิ่มโอกาสในการใช้เทคโนโลยี มีการพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จำนวน 13 รายการ กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่มารับบริการ และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ระยะเวลาเดือนมิถุนายน 2566 – เดือนมกราคม 2567 การศึกษาสถานการณ์และค้นหาปัญหาโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ร่วมกับการสังเกตและการสัมภาษณ์ผู้ใช้บริการ นำสิ่งที่ได้มาพัฒนารูปแบบงานบริการโดยการออกแบบการปฏิบัติร่วมกัน แก้ไขปรับปรุงวิธีปฏิบัติ ทบทวนและตรวจสอบจนได้แนวคิดหลักและรูปแบบการพัฒนา นำไปทดสอบและปฏิบัติจริง และทำการประเมินผล ผลจากการวิจัยครั้งนี้ทำให้มีการปรับรวมจุดแรกรับการบริการทุกด้านไว้ที่จุดเดียวกัน พัฒนาการให้ข้อมูลและคำปรึกษาผ่านระบบดิจิตัล Line  Official มากขึ้น การปรับปรุงกระบวนการทำงาน ทำให้สามารถยื่นและรับเอกสารที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง มีการพัฒนาระบบการชำระเงินออนไลน์ การรับเรื่องร้องเรียน การพัฒนาพิมพ์เขียวงานบริการเพื่อเป็นแนวทางการทบทวนและพัฒนางาน ได้ข้อสรุปแผนพัฒนางานบริการในระยะต่อมา 1 ปี และ 3 ปี ได้แก่ การมอบอำนาจการอนุญาต การพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบออนไลน์ การปรับปรุงสถานที่ และการผ่านเกณฑ์เป้าหมายศูนย์ราชการสะดวก ผลการประเมินการพัฒนาระบบพบว่า ผู้ให้บริการสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนร้อยละ 100 และปฏิบัติตามระยะเวลาที่ประกาศในมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) ได้ร้อยละ 65.71 รูปแบบที่พัฒนานี้สามารถตอบสนองและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการในระดับมาก และสามารถลดค่าใช้จ่ายแก่ให้แก่ผู้รับบริการได้รายละ 137.20 - 1,296.00 บาท

คำสำคัญการออกแบบบริการ การพัฒนารูปแบบบริการภาครัฐ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ศูนย์ราชการสะดวก

References

ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา. การพัฒนาระบบราชการไทย การพัฒนาองค์การและการสร้างองค์การที่เรียนรู้. วารสารสถาบันพระปกเกล้า [อินเตอร์เน็ต]. 2546 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การพัฒนาระบบราชการไทย_การพัฒนาองค์การและการสร้างองค์การที่เรียนรู้

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. สรุปบทเรียนการทำงานแบบมีส่วนร่วมในการบริหารราชการประจำปี พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: วิชั่น พรินท์ แอนท์ มีเดีย; 2561.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จของ อย. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://db.oryor.com/databank/data/radio/documentary_text/510527

กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2566. ประจวบคีรีขันธ์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์; 2566.

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC). คู่มือการออกแบบบริการ ทำความรู้จักกับการออกแบบบริการทั้งความรู้พื้นฐาน กระบวนการ และเครื่องมือในการออกแบบ. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://resource.tcdc.or.th/ebook/TCDC-Service-Design-Workbook.pdf

คณะกรรมการอำนวยการศูนย์ราชการสะดวก. คู่มือการรับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก. พิมพ์ครั้งที่ 7. ม.ป.ท.: 2566.

อาภากร เขจรรักษ์. การศึกษาปัจจัยต่อการให้บริการของศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จระดับอำเภอ กรณีศึกษาเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 2566; 1(6): 38-45.

รังสรรค์ วงษ์บุญหนัก. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จในยุคเน็กซ์นอร์มัล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (ออนไลน์). 2565; 3(2):9-109.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research Article