การส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
คำแนะนำผู้แต่ง
คำแนะนำสำหรับการส่งต้นฉบับ
วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต มีความยินดีขอเรียนเชิญสมาชิกทุกท่านส่งบทความวิชาการ บทความวิจัย การทบทวนงานวิจัย นวัตกรรม กรณีศึกษา การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต การพยาบาลจิตเวช และสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งนี้มีข้อตกลงในการส่งบทความลงตีพิมพ์ดังนี้
- ผลงานที่ส่งมาให้พิจารณาเพื่อตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น
- กรณีเป็นบทความวิจัย ต้องเป็นงานวิจัยที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย
- ผู้นิพนธ์ต้องสมัครเป็นสมาชิกสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
- กรณีผู้นิพนธ์มากกว่า 1 ท่าน ให้แนบต้นฉบับหนังสือแสดงความยินยอมของผู้นิพนธ์ร่วมมาด้วย และต้องมีลายเซ็นจริงของผู้นิพนธ์ทุกคน กรณีที่บทความวิจัยเป็นวิทยานิพนธ์ ต้องระบุอาจารย์ที่ปรึกษาในใบส่งผลงานตีพิมพ์โดยวงเล็บต่อท้ายหลังลายเซ็น (ใบส่งผลงานตีพิมพ์)
- เรื่องที่ส่งเข้าตีพิมพ์ ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ต้องชำระเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ 6,000 บาท
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
ความรับผิดชอบ
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต ถือเป็นผลงานทางวิชาการและเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความเห็นของสมาคมฯ หรือกองบรรณาธิการ ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาสาระที่นำเสนอในบทความของตน
การรับบทความตีพิมพ์
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทานแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง ทั้งนี้ต้นฉบับที่ส่งมาจะได้รับการพิจารณาตรวจทานจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนั้นอย่างน้อย 2 ท่าน กองบรรณาธิการจะส่งความเห็น ตลอดจนข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้นิพนธ์ หากต้นฉบับที่เสนอมาได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้นิพนธ์เจ้าของบทความทราบ เพื่อให้ผู้นิพนธ์แก้ไขต้นฉบับตามข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อผู้นิพนธ์ได้ปรับปรุงเสร็จสิ้นแล้วและส่งคืนมา ทางกองบรรณาธิการจะทำการตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งและส่งให้ผู้นิพนธ์แก้ไขและตรวจทานครั้งสุดท้ายก่อนตีพิมพ์ จากนั้นกองบรรณาธิการจะออกหนังสือรับรองการลงตีพิมพ์ให้ผู้นิพนธ์
การส่งบทความ
ส่งบทความต้นฉบับที่ Website ของวารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต พร้อมแนบใบส่งผลงานตีพิมพ์ที่มีลายเซ็นจริงของผู้นิพนธ์ทุกคน ระบุชื่อสถานที่ หมายเลขโทรศัพท์ และ E-mail address ของผู้นิพนธ์ที่สามารถติดต่อได้ และแนบเอกสารที่แสดงถึงการเป็นสมาชิกสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย สำเนาเอกสารรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย และหลักฐานการโอนเงินค่าดำเนินการ โดยส่งหลักฐานทั้งหมดมาในระบบของวารสาร
การเตรียมต้นฉบับ
ก. รูปแบบของต้นฉบับ
- ต้นฉบับพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป MS Word for Windows จำนวน 10 – 14 หน้า (รวมรายการอ้างอิง) โดยใช้แบบอักษร Angsana new ขนาด 16 การกั้นขอบหน้า เว้น 1 นิ้วทั้ง 4 ด้าน ระยะห่างระหว่างบรรทัด ใช้ single space การย่อหน้า 1.27 ซม. หรือ 0.5 นิ้ว ใช้กระดาษพิมพ์ขนาด A4 พิมพ์หน้าเดียว และพิมพ์เลขหน้ากำกับทุกแผ่น
- ชื่อเรื่อง พิมพ์ไว้หน้าแรกตรงกลางทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยที่ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ (Uppercase) ทั้งหมด (ดังตัวอย่าง)
- ชื่อผู้นิพนธ์และวุฒิการศึกษาสูงสุด เขียนไว้ใต้ชื่อเรื่องโดยเยื้องไปทางขวามือ โดยมีชื่อผู้เขียนและวุฒิการศึกษาภาษาไทย และถัดไปเป็นวงเล็บชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษพร้อมวุฒิการศึกษาภาษาอังกฤษ (กรณีสำเร็จการศึกษาหลักสูตร International program หรือสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ที่ชื่อภาษาไทยก็ยังคงเป็นวุฒิการศึกษาภาษาอังกฤษ ส่วนนักศึกษาที่ส่งตีพิมพ์เนื่องจากยังไม่สำเร็จการศึกษาจึงขอให้ใส่วุฒิปริญญาตรี)
- การเขียนเชิงอรรถหน้าที่ 1 เขียนภาษาไทยและวงเล็บภาษาอังกฤษไว้หลังภาษาไทย (ดังตัวอย่าง)
- ระบุแหล่งทุนสนับสนุนการศึกษาไว้ที่เชิงอรรถ
- ใส่เครื่องหมาย * ที่ท้ายชื่อผู้เขียนและเชิงอรรถหน้าที่ 1 ระบุ Corresponding author ตำแหน่งวิชาการ หน่วยงานหรือสถาบันที่ผู้นิพนธ์อยู่ขณะทำการวิจัย และ Email Address
- กรณีมีผู้นิพนธ์หลายคน ให้เขียนตามลำดับ ใส่เครื่องหมาย * ที่ท้ายชื่อผู้นิพนธ์ และเชิงอรรถหน้าที่ 1 ระบุตำแหน่งวิชาการ หน่วยงานหรือสถาบันที่ผู้นิพนธ์อยู่ขณะทำการวิจัย (ดังตัวอย่าง)
- กรณีเป็นวิทยานิพนธ์ให้ระบุไว้ที่เชิงอรรถ เช่น “วิทยานิพนธ์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล” (ดังตัวอย่าง)
ตัวอย่างหน้า 1
ความแข็งแกร่งในชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง RESILLIENCE OF HIGH SCHOOL STUDENTS IN THE LOWER SOUTHERN PROVINCES OF THAILAND ศรีสุดา วนาลีสิน, ปร.ด. (Srisuda Vanaleesin, Ph.D.)*
Abstract Objective: ……………….. Keywords: …………………………… _______________________ *Corresponding author, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ (Assistant professor, Faculty of Nursing, Thaksin University), E-mail: srisuda @scholar.tsu.ac.th ** อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (Lecturer, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University) |
ตัวอย่างหน้า 1 กรณีเป็นวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา
ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม* SELECTED FACTORS RELATED TO QUALITY OF LIFE OF OLDER PERSONS WITH DEMENTIA ภานุชนาถ พูสี, พยบ. (Panudchanard Phoosri, BNS.)**
Abstract Objective: ……………….. Keywords: …………………………… ___________________________ * วิทยานิพนธ์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต |
ข. การใช้ภาษาและภาพ
- การใช้ภาษาไทย ยึดหลักของราชบัณฑิตยสถาน พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาอังกฤษในข้อความภาษาไทย ยกเว้นกรณีจำเป็น และไม่ใช้คำย่อ (นอกจากเป็นคำที่ยอมรับกันโดยทั่วไป) การแปลศัพท์อังกฤษเป็นไทยหรือการเขียนทับศัพท์ให้ยึดหลักของราชบัณฑิตยสถาน การใช้การเขียนศัพท์ภาษาอังกฤษในวงเล็บที่อยู่ในเนื้อเรื่องภาษาไทยให้ใช้อักษรตัวเล็ก เช่น ความแข็งแกร่งในชีวิต (resilience) ยกเว้นชื่อเฉพาะให้ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ เช่น แบบสอบถามปริมาณการดื่มสุรา (Time Line Follow Back/ TLFB)
- ภาพต้องเป็นภาพขาวดำ ขนาด 3 X 5 นิ้ว ถ้าเป็น Artwork เขียนด้วยหมึกดำบนกระดาษมันสีขาวคำบรรยายภาพให้พิมพ์แยกไว้ใต้ภาพ มีหมายเลขกำกับพร้อมทั้งลูกศรแสดงด้านบนของภาพเขียนด้วยดินสอเบาๆ ที่ด้านหลัง กรณีที่เป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์ต้องได้รับการอนุญาตก่อนและต้องมีการอ้างอิงให้ถูกต้อง
ค. บทความวิชาการ เรียงลำดับหัวข้อ ดังนี้
- บทคัดย่อ (abstract) ภาษาอังกฤษไม่เกิน 250 คำ และ คำสำคัญ (keywords) 2-5 คำ
- บทคัดย่อ (abstract) ภาษาไทยไม่เกิน 250 คำ และ คำสำคัญ (keywords) 2-5 คำ
- การเรียงหัวข้อของเนื้อเรื่องให้พิจารณาตามความเหมาะสมแต่จะต้องประกอบด้วยบทนำ เนื้อหาและสรุป
ง. บทความวิจัย เรียงลำดับหัวข้อ ดังนี้
- บทคัดย่อ (abstract) ภาษาอังกฤษและภาษาไทย อย่างละ ไม่เกิน 250 คำ และคำสำคัญ (keywords) 2-5 คำ ไม่ต้องใส่ references ส่วนค่าสถิติอาจใส่เท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยเขียนเป็น 4 หัวข้อคือ วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา และสรุป (ดังตัวอย่าง)
- ความสำคัญของปัญหา
- วัตถุประสงค์การวิจัย
- กรอบแนวคิดการวิจัย (ในกรณีงานวิจัยเชิงคุณภาพใช้เป็นแนวคิดเบื้องต้นแทนกรอบแนวคิด)
- คำถามการวิจัย (ถ้ามี)
- สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
- วิธีดำเนินการวิจัย ระบุแบบวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง วิธีการเลือก/สุ่มตัวอย่าง การกำหนดขนาดตัวอย่าง สถานที่ทำการวิจัย การพิทักษ์สิทธิกลุ่มตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูล เครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล (กรณีการวิจัยเชิงคุณภาพให้เป็นไปตามระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้)
- ผลการวิจัย เสนอผลให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการวิจัยตามลำดับให้ชัดเจน และนำเสนอในรูปตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพ ในประเด็นที่สำคัญ (การนำเสนอค่าสถิติใดๆ ที่มีค่าไม่เกิน 1 เช่น ค่า r และ p ไม่ต้องมีเลข 0 นำหน้า ทศนิยม เช่น r = .15, หรือ p < .01)
- การอภิปรายผลการวิจัย เขียนเป็นความเรียงแสดงถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด หรือผลการวิจัยกับกรอบแนวคิดหรือแนวคิดเบื้องต้น รวมทั้งความเชื่อมโยงกับงานวิจัยที่ผ่านมา
- ข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้และประเด็นในการวิจัยครั้งต่อไป
- กิตติกรรมประกาศ ไม่เกิน 5 บรรทัด (ถ้ามี)
- เอกสารอ้างอิง ใช้ระบบ American Psychological Association (APA) style (5th edition) ซึ่งเอกสารอ้างอิงท้ายบทและในเนื้อหาต้องตรงกัน (รายละเอียดในหัวข้อการเขียนเอกสารอ้างอิง)
การเขียนเอกสารอ้างอิง
การอ้างอิงเอกสาร ใช้ระบบ American Psychological Association (APA) style (6thedition) โดยอ้างชื่อและปีที่ตีพิมพ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- การอ้างอิงในเนื้อหา
1.1 ใช้ระบบนาม – ปี (Name – year system) ชื่อผู้แต่งภาษาไทย ให้เขียนชื่อและนามสกุล ส่วนผู้แต่งภาษาอังกฤษ ให้เขียนเฉพาะนามสกุล แล้วตามด้วยปีที่ตีพิมพ์ เช่น
...........โรคซึมเศร้ามีแนวโน้มเป็นโรคเรื้อรังและกลับเป็นซ้ำ (รณชัย คงสกนธ์, 2548)
………นักศึกษาต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงตามวัยและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย (Arnett, 1994)
1.2 ในการอ้างอิงโดยอ้างชื่อผู้เขียนในเนื้อหา ถ้าผู้เขียนเป็นชาวต่างประเทศให้เขียนอ้างอิงโดยอ้างชื่อสกุล (last name) เป็นภาษาไทย ตามด้วยวงเล็บชื่อสกุลภาษาอังกฤษและปีที่ตีพิมพ์ หลังข้อความที่อ้างอิง ตัวอย่างเช่น
.............สอดคล้องข้อเสนอแนะของ กรอท์เบอร์ก (Grotberg, 2001) ที่กล่าวไว้ว่า..................
1.3 ในการอ้างอิงโดยอ้างชื่อผู้เขียนในเนื้อหา ที่อ้างอิงจากภาษาไทยให้เขียนชื่อ นามสกุลผู้เขียนแล้วตามด้วยวงเล็บปีที่ตีพิมพ์ เช่น
.............จากการศึกษาของ ศิริไชย หงส์สงวนศรี และปราโมทย์ สุคนิชย์ (2545) พบว่า...............
1.4 กรณีผู้เขียนมี 2 คน ให้เขียนชื่อและนามสกุล (ภาษาไทย) หรือ นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) ของทั้ง 2 คน ทุกครั้ง โดยเชื่อมด้วยคำว่า “และ” ในภาษาไทย หรือใช้ เครื่องหมาย “&” สำหรับภาษาอังกฤษ เช่น
..............จากผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งในชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยง (Ellis & Torabi, 1994)
1.5 กรณีมีผู้เขียน 3-5 คน เมื่ออ้างอิงครั้งแรก ให้เขียนชื่อและนามสกุล (ภาษาไทย) หรือนามสกุล (ภาษาอังกฤษ) ของทุกคน ระหว่างชื่อผู้เขียนให้ใส่เครื่องหมายลูกน้ำคั่น (,) และใส่เครื่องหมาย & ระหว่างคนก่อนสุดท้ายและคนสุดท้าย และเมื่อต้องอ้างอิงครั้งต่อไปให้เขียนชื่อผู้เขียนคนแรกเพียงคนเดียว และ ตามด้วย “และคณะ” หรือ et al. เช่น
ครั้งที่ 1: การพักผ่อน การออกกำลังกาย (Drum, McBride, Metsch, Neufeld, & Sawatsky, 2005)
ครั้งที่ 2: การดูแลตนเองก่อน เช่น การทำความสะอาดร่างกาย (Drum et al., 2005)
1.6 ผู้แต่งมีตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป การอ้างอิงตั้งแต่ครั้งแรก ใส่ชื่อผู้เขียนคนแรกเพียงคนเดียวตามด้วย คำว่า “และคณะ” ในภาษาไทย หรือใช้ “et al.” สำหรับภาษาอังกฤษ (แต่ในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความให้ใส่ชื่อผู้เขียนทั้ง 6 คน และในกรณีมากกว่า 6 คน ให้เขียนชื่อ เฉพาะ 6 คนแรก แล้วใส่ “และคณะ” หรือ et al.) เช่น ............(วิมลรัตน์ วันเพ็ญ และคณะ, 2553) หรือ...................(Jones et al., 2003).
1.7 ถ้าอ้างอิงเนื้อหาจากแหล่งทุติยภูมิ (secondary source) หรือแหล่งซึ่งผู้เขียนมิได้อ่านจาก primary source เองให้ใส่คำว่า “อ้างใน” “as cited in” แล้วตามด้วยชื่อผู้เขียน และปี จากแหล่งที่ท่านอ่าน เช่น
.............กรอท์เบอร์ก (อ้างใน พัชรินทร์ นินทจันทร์, 2555)
.............ฟรอย์ด (Freud as cited in Skinner, 1923), the characteristics ….
1.8 หากมีเอกสารอ้างอิงหลายฉบับใน ข้อความเดียวกัน ให้เรียงชื่อผู้แต่งชื่อแรกตามอักษร และคั่นเอกสารแต่ละฉบับด้วย semicolon (;) ถ้ามีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้เขียนภาษาไทยก่อน เช่น
............ (นุจรีย์ ภู่ระย้า, 2553; สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต, 2553; Mannuzza, Klein, & Moulton, 2008)
- การคัดลอกข้อความ
ในกรณีที่เป็นข้อความที่คัดลอกมาต้องอยู่ในเครื่องหมายคำพูด “............” และใส่เลขหน้าด้วย ดังตัวอย่าง
............. การบริการพยาบาลเป็น “การใช้ศาสตร์และศิลปะเพื่อการบริการสุขภาพแก่ผู้รับบริการ” (กุลยา ตันติผลาชีวะ, 2549, หน้า 4)
- การอ้างอิงท้ายบทความ
3.1 บทความทั่วไป ใส่ชื่อผู้ร่วมงานทุกคน ถ้ามากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อ 6 คนแรกตามด้วย et al. และใส่เครื่องหมายวรรคตอน พิมพ์ตัวเอียงสำหรับชื่อหนังสือ หรือชื่อวารสาร และ volume number ส่วนฉบับที่ (issue) ไม่ต้องใช้ตัวเอียงและไม่ต้องเว้นวรรคระหว่างปีที่และฉบับที่ ส่วนการใช้ตัวอักษรนั้นถ้าเป็นชื่อหนังสือจะให้ใช้ ตัวพิมพ์ใหญ่ (Uppercase) เฉพาะอักษรตัวแรกคำแรกเท่านั้น (ยกเว้นชื่อเฉพาะ) แต่ถ้าเป็นชื่อวารสารให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่สำหรับอักษรตัวแรกของทุกคำ ยกเว้นคำบุพบท เช่น
Cate, A. R., Harris, D. L., Boswell, W., James, W. L., & Peters, A. V. (1991). Trance and clay therapy. Chicago: Chicago University Press.
Spitch, M. L., Verzy, H. N., & Blegen, M. A. (2001). Nursing experience and education effect on quality of care. Journal of Nursing Administration, 91(1), 33 – 39.
3.2 ถ้าผู้แต่งชื่อเดียวกัน ให้เรียงปีที่พิมพ์ จากปีก่อนถึงปีล่าสุด และถ้ามีผู้แต่งสองชื่อ เรียงชื่อแรก ก่อนแล้วตามด้วยชื่อที่สอง เช่น
Berndt, T. J. (1992). Friendship and friends’ influence in adolescence. Current Directions in Psychological Science, 1, 156 – 159.
Berndt, T. J. (1999). Friends’ influence on students’ adjustment to school. Educational Psychologists, 34, 15 – 34.
Berndt, T. J., & Keefe, K. (1995). Friends’ influence on adolescents’ adjustment to school. Child Development, 66, 1312 -1329.
3.3 การอ้างอิงเฉพาะบทในหนังสือ
Hollander, E. P. (2003). Leadership and social exchange process. In K. J. Gergen, M. S. Greengerg, & R. H. Willis (Eds.). Social exchange: Advance in theory and research (pp. 103 – 118). New York: Plenum.
3.4 การเขียนอ้างอิง Electronic Journal Article กรณีที่มีการระบุ DOI (Digital Object Identifier) เช่น
Cook, P. E., & Hinman, L. (1999). Criminal profiling: Science and art. Journal of Contemporary Criminal Justice, 15(3), 230 - 241. doi: 10.1177/1043986299015003002
3.5 การเขียนอ้างอิง Electronic Journal Article กรณีที่ไม่มีการระบุ DOI ให้ใช้ URL เช่น
Vandenbos. G., Knapp. S., & Doe, J. (2001). Role of reference elements in the selection of resources by psychology undergraduates. Journal of Bibliographic Research, 5, 117 – 123. Retrieved October 13, 2005, from https://www.netlibrary.com
พนม เกตุมาน. (2550). พฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2553, จาก https://www.psyclin.co.th/new_page_78.htm
3.6 การเขียนอ้างอิง Electronic Article จากฐานข้อมูล (Database)
Jacobson, J. W., Mulick, J. A., & Schwartz, A. A. (1995). A history of facilitated communication: Science, pseudoscience, and antiscience. American Psychologist, 50, 750-765. Retrieved May 2, 2005, from PsychINFO database.
3.7 วิทยานิพนธ์
กุลธิดา สุภาคุณ. (2548). ผลของโปรแกรมการบำบัดทางพฤติกรมความคิดต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kittivongvisut, A. (2001). Relationships between resilience factors, perception of adversities, and risk behaviors in vocational students. Unpublished master’s thesis in Nursing Science (Community Health Nursing), Faculty of Graduate Studies, Mahidol University, Thailand.
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย