ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุราในนักเรียนจ่าทหารเรือ* FACTORS RELATING TO DRINKING BEHAVIOR IN NAVY NON-COMMISSIONED OFFICER STUDENTS
Main Article Content
บทคัดย่อ
Abstract
Objective: This descriptive correlational research was aimed at investigating relationships between predisposing factors [personal factors (smoking history, income) and attitudes towards drinking behaviors], enabling factors (accessibility to alcohol selling stores) and reinforcing factors (influence of advertising media and public relations, the support from group of friends in drinking behaviors and drinking behaviors of the family) with drinking behaviors.
Methods: The participants consisted of 836 navy non-commissioned officer students, naval education department, in the academic year 2015. Data were collected by seven questionnaires comprising of the Personal data questionnaire, Alcohol Use Identification Test (AUDIT), Attitudes towards drinking behavior questionnaire, Accessibility to alcohol selling store questionnaire, Influence of advertising media and public relations questionnaire, The support from groups of friends in the drinking behavior questionnaire and Drinking behavior of the family questionnaire. Descriptive statistics, Spearman’s rank-order correlation and Chi-square were used for data analysis.
Results: The study results revealed that attitudes towards drinking behaviors, accessibility
to alcohol selling stores, influence of advertising media and public relations, support from groups of friends in drinking behaviors and drinking behaviors of the family were positively and significantly related to drinking behaviors (p = .000). In addition, smoking was significantly related to drinking behaviors (p = .000). However, income was not related to drinking behaviors (p = .792). Results from this study provided important information in order to plan for reducing drinking behaviors in navy non-commissioned officer students.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ [ปัจจัยส่วนบุคคล (ประวัติการสูบบุหรี่ รายได้) และทัศนคติต่อการดื่มสุรา] ปัจจัยเอื้อ (การเข้าถึงแหล่งซื้อขายสุรา) และปัจจัยเสริม(การรับอิทธิพลจากสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์แรงสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อนในการดื่มสุรา และพฤติกรรมการดื่มสุราของบุคคลในครอบครัว) กับพฤติกรรมการดื่มสุรา
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือปีการศึกษา 2558 จำนวน 836 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 7 ส่วน ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินพฤติกรรมการดื่มสุรา แบบสอบถามทัศนคติต่อการดื่มสุรา แบบสอบถามการเข้าถึงแหล่งซื้อขายสุรา แบบสอบถามการได้รับอิทธิพลจากสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสุรา แบบสอบถามแรงสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อนในการดื่มสุรา และแบบสอบถามพฤติกรรมการดื่มสุราของบุคคลในครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และสถิติไคสแควร์
ผลการศึกษา: ทัศนคติต่อการดื่มสุรา การเข้าถึงแหล่งซื้อขายสุรา การรับอิทธิพลจากสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ แรงสนับสนุนจากกล่มเพื่อนในการดื่มสุรา และพฤติกรรมการดื่มสุราของบุคคลในครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดื่มสุราอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000) รวมทั้งพบว่าการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุราอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000) อย่างไรก็ตามไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับพฤติกรรมการดื่มสุรา (p = .792) ผลการศึกษาครั้งนี้ให้ข้อมูลที่สำคัญในการนำไปวางแผนลดพฤติกรรมการดื่มสุราในนักเรียนจ่าทหารเรือ
ต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย