ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุขเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร* FACTORS RELATED TO THE IMPLEMENTING MENTAL HEALTH PROMOTION BY HEALTH VOLUNTEERS IN LAKSI COMMUNITY, BANGKOK
Main Article Content
บทคัดย่อ
Abstract
Objectives: This research aimed to study the implementation of health volunteers in promoting mental health, personal factors, and environmental factors in relation with job performance of health volunteers working in a community.
Methods: The population included 302 health volunteers in Laksi community, Bangkok; however, a participating sample of 163 health volunteers was selected using Stratified Random Sampling. The main instruments for data collection were the demographic characteristics questionnaire, environmental factors, and the implementation mental health promotion questionnaire. The data collected were analyzed using Descriptive Statistics, the Chi Square Test, and the Pearson’s Correlation Coefficients.
Results: The results indicated that the implementing mental health promotion by health volunteers was at a moderate level. The relationship among personal factors, and attitude and awareness of mental health community, were found to be insignificantly significant in relation to the implementation of mental health promotion by health volunteers. However, the environmental factors in the implementation correlated with a positive direction in the implementation of mental health promotion with a statistic significance (p<.01).
Conclusions: There is a strong support for environmental factors in the implementation of all factors. For example, health volunteers should receive training and increase community’s mental health knowledge, supervision and monitoring in the area. Funding and materials should also be sufficiently supported. These can accelerate the implementation in promoting mental health in the community more effectively.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสิ่งแวดล้อม ที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน
วิธีการศึกษา: ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคืออาสาสมัครสาธารณสุขเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการส่มุ แบบชั้นภูมิตามชุมชน จำนวน 163 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแคว์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่าการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขส่วนใหญ่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก กับการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)
สรุป: การสนับสนุนปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานให้ครอบคลุม ได้แก่ การฝึกอบรมและพัฒนาความรู้เรื่องสุขภาพจิต มีการติดตามนิเทศงานในพื้นที่ การสนับสนุนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ จะช่วยให้การปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย