ผลของโปรแกรมการบำบัดด้วยการแก้ปัญหาแบบกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้าของผู้รับบริการที่ มีภาวะซึมเศร้าที่มารับบริการในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ* THE EFFECT OF PROBLEM SOLVING GROUP THERAPY PROGRAM ON DEPRESSION AMONG CLIENTS WITH DEPRESSION RECEIVED

Main Article Content

สมบัติ สกุลพรรณ์
สุพิศ กุลชัย
ดาราวรรณ ต๊ะปินตา

บทคัดย่อ

Abstract
Objective: To investigate the effect of problem solving group therapy program on depression among clients with depression received services at primary and secondary care unit.
Methods: This study was quasi-experimental research, 89 clients with depression were purposively selected based on the inclusion criteria. The research instruments were 1) Problem Solving Group Therapy Program developed by researcher team, 2) 9 Q Depressive Screening Form. Descriptive statistics and repeated measures ANOVA were used for data analyses.
Result: The result of this study revealed that the depression means score of clients with depression at the end of program and 3 months after receiving Problem Solving Group Therapy Program were significantly different from that before (p < .001).
Conclusion: Problem Solving Group Therapy Program could decline depression among clients who have depressive mood, as well. We found that it had sustainable effect when follow up 3 months, with a little bit higher means score; however, to confirm the effectiveness of this program, long term follow up should be done at least 6 months after program finished.

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดด้วยการแก้ปัญหาแบบกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้าของผู้รับบริการที่มีภาวะซึมเศร้าที่มารับบริการในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองกลุ่มตัวอย่างคือผู้รับบริการที่มีภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยถึงปานกลางที่เข้ารับการบำบัดรักษาตามปกติในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ อำเภอหนึ่ง ของจังหวัดสุโขทัย จำนวน 89 คน ที่คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือประกอบด้วย 1) โปรแกรมการบำบัดด้วยการแก้ปัญหาแบบกลุ่ม 2) แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนเมื่อมีการวัดซ้ำ (repeated measures ANOVA)

ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของกลุ่มตัวอย่างระหว่างก่อนการได้รับโปรแกรมฯ กับหลังได้รับโปรแกรมฯ ทันที และระยะติดตามผล3 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)
สรุป: โปรแกรมการบำบัดด้วยการแก้ปัญหาแบบกลุ่ม สามารถลดภาวะซึมเศร้าของผู้รับบริการที่มีภาวะซึมเศร้าได้ และพบว่าผลของการบำบัดมีความคงทนเมื่อติดตามผล 3 เดือน โดยพบว่าคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย
อย่างไรก็ตามควรมีการติดตามผลระยะยาวอย่างน้อย 6 เดือนหลังสิ้นสุดโปรแกรม เพื่อดูประสิทธิผลของโปรแกรมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สมบัติ สกุลพรรณ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สุพิศ กุลชัย, พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ

โรงพยาบาลศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

ดาราวรรณ ต๊ะปินตา, ศาสตราจารย์

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่