ผลของโปรแกรมกลุ่มสุขภาพจิตศึกษาโดยใช้ซาเทียร์โมเดลเป็นฐาน ต่ออาการซึมเศร้าในผู้หญิงไทยโรคซึมเศร้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
Abstract
Objective: To compare the effects of psycho-educational group program based on Satir’s model on depressive symptoms in Thai women with Major Depressive Disorders between standard treatments.
Methods: The samples of this quasi experimental research were 24 Thai women with major depressive disorder in Chiangrai Prachanukroh hospital. With random assignment, 11 participants (M = 46.9, SD = 9.2 years old) underwent to 6-weekly-session psycho-education program while 13 samples (M = 42.5, SD = 7.2 years old) experienced routine care. The researcher measured the severity of depressive symptoms by using the Hamilton Rating Scale at the pre-test, post-test 1 (6-weekly-sessions ended), post-test 2 (2 weeks after intervention). One factor repeated measure ANOVA was used to analyze the data.
Results: Mean depressive symptom differed statistically significant between groups (F1, 22 = 12.786, p = .002). The result revealed reductions of the depressive symptom mean between experiment and control groups. Also, Mean depressive symptom differed statistically significant between time periods (F1, 22 = 13.801, p = .001). The mean of depressive symptom at 6-weekly-sessions ended was higher than those 2 weeks after intervention. However, their interaction effect was not statistically significant (P > .05). The result revealed reductions of the mean.
Conclusion:The psycho-educational group program based on Satir’s model significantly elicited decreases in depressive symptoms across time periods.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกลุ่มสุขภาพจิตศึกษาโดยใช้ซาเทียร์โมเดลเป็นฐานต่ออาการซึมเศร้าในผู้หญิงไทยโรคซึมเศร้าระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมกลุ่มสุขภาพจิตศึกษาโดยใช้ซาเทียร์โมเดลเป็นฐาน และกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติหลังสิ้นสุดโปรแกรมทันที และหลังการทดลอง 2 สัปดาห์
วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหญิงไทยที่มารับบริการ ณ คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จำนวน 24 ราย สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง 11 ราย มีอายุเฉลี่ย 46.9 (SD = 9.2) ปี ได้รับโปรแกรมกลุ่มสุขภาพจิตศึกษาโดยใช้ซาเทียร์โมเดลเป็นฐาน จำนวน 6 ครั้ง (1 ครั้งต่อสัปดาห์) และกลุ่มควบคุม 13 ราย มีอายุเฉลี่ย 42.5 (SD = 7.2) ปี ได้รับการดูแลตามปกติของหน่วยงาน ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลระดับอาการซึมเศร้า ระหว่าง 13 ถึง 29 คะแนน ตามเกณฑ์การเลือกตัวอย่างเข้าศึกษา โดยใช้แบบประเมินอาการซึมเศร้า (The Hamilton Rating Scale for depression / HAM-D) และใช้เป็นข้อมูลระดับอาการซึมเศร้าระยะก่อนได้รับโปรแกรม(Pre-test) หลังเสร็จสิ้นโปรแกรมทันที (Post-test 1)และหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ (Post-test 2) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ 1 ปัจจัย
ผลการศึกษา: อาการซึมเศร้าในผู้หญิงไทยโรคซึมเศร้าระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมกลุ่มสุขภาพจิตศึกษาโดยใช้ซาเทียร์โมเดลเป็นฐานและกลุ่มที่ได้รับการให้การดูแลตามปกติแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F1, 22 = 12.786, p = .002) โดยกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมกลุ่มสุขภาพจิตศึกษาโดยใช้ซาเทียร์โมเดลเป็นฐานมีค่าเฉลี่ยอาการซึมเศร้า
น้อยกว่ากลุ่มควบคุม และระดับอาการซึมเศร้าในผู้หญิงไทยโรคซึมเศร้าในช่วงเวลาหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมทันที (Post-test 1) และหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ (Post-test 2) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F 1, 22 = 13.801, p = .001) โดยระดับอาการซึมเศร้าหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมทันที สูงกว่าหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ ส่วนปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมกลุ่มสุขภาพจิตศึกษาโดยใช้ซาเทียร์โมเดลเป็นฐานกับช่วงเวลาที่วัดต่อระดับอาการซึมเศร้าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P > .05)
สรุปผลการศึกษา: โปรแกรมกลุ่มสุขภาพจิตศึกษาโดยใช้ซาเทียร์โมเดลเป็นฐานมีผลต่อการลดอาการซึมเศร้าในผู้หญิงไทยโรคซึมเศร้าระหว่างกลุ่มที่ศึกษาและภายในกลุ่มทดลอง
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย