ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และประคับประคองที่เน้นการควบคุม ความอยากดื่มแอลกอฮอล์ต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในผู้ติดแอลกอฮอล์ THE EFFECT OF EDUCATIVE-SUPPORTIVE PROGRAM EMPHASIZING ALCOHOL CRAVING CONTROL ON ALCOHOL BEVERAGE CONSUMPTION IN PERSONS WITH

Main Article Content

ศิวะพร ไชยชนะ
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย
สุนิศา สุขตระกูล

บทคัดย่อ

Abstract


Objectives: The purposes of research were to compare alcohol beverage consumption in persons with alcohol dependence before and after received the educative-supportive program emphasizing alcohol craving control, and to compare alcohol beverage consumption in persons with alcohol dependence who received the educative-supportive program emphasizing alcohol craving control and those who received regular caring activities.
Methods: Forty alcohol dependence patients admitted in inpatient department at  Prasrimahabhodi Psychiatric Hospital and their family, who met the inclusion criteria, were matched in pairs and then randomly assigned to experimental groups and control groups with 20 subjects in each group. The research instruments consisted of: 1) The Educative-Supportive Program Emphasizing Alcohol Craving Control, 2) The Alcohol Consumption Assessment, 3) The Obsessive Compulsive Drinking Scale, and 4) Family Supportive for Craving Control Self-care Assessment. All instruments were validated for content validity by 5 professional experts. The reliability of instruments were reported by Chronbach’s Alpha coefficient of .89, .81 and .80. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test.
Results:1) The alcohol beverage consumption in persons with alcohol dependence after received educative-supportive program emphasizing alcohol craving control was significantly lower than that before, at .05 levels. 2) The alcohol beverage consumption in persons with alcohol dependence after received educative-supportive program emphasizing alcohol craving control was significantly lower than who received regular caring activities at .05 levels.

บทคัดย่อ


วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และประคับประคองที่เน้นการควบคุมความอยากดื่มแอลกอฮอล์ และเพื่อเปรียบเทียบการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์ที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และประคับประคองที่เน้นการควบคุมความอยากดื่มแอลกอฮอล์ กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์ที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์และครอบครัว จำนวน 40 คน ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ คัดเลือกเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน โดยการจับคู่ด้วยเพศ ระดับการศึกษา รายได้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการให้ความรู้และประคับประคองที่เน้นการควบคุมความอยากดื่มแอลกอฮอล์ 2) แบบประเมินการบริโภคแอลกอฮอล์ 3) แบบวัดความอยากดื่มแอลกอฮอล์ และ 4) แบบประเมินการสนับสนุนการดูแลตนเองเพื่อควบคุมความอยากดื่มแอลกอฮอล์โดยครอบครัว ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยเครื่องมือ 3 ชุด
หลังมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89, .81 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละและสถิติทดสอบที (t-test)
ผลการศึกษา:
1. การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์ หลังได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และประคับประคองที่เน้นการควบคุมความอยากดื่มแอลกอฮอล์ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และประคับประคองที่เน้นการควบคุมความอยากดื่มแอลกอฮอล์ ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศิวะพร ไชยชนะ, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์

คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุนิศา สุขตระกูล, อาจารย์

คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย