ผลของโปรแกรมสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ของเด็กหญิงที่ถูกกระทำรุนแรง ในสถานแรกรับเด็กหญิง เขตภาคกลาง* THE EFFECTS OF THERAPEUTIC RELATIONSHIP PROGRAM ON SELF ESTEEM AMONG GIRLS IN EXPOSURE TO VIOLENCE IN THE CENTRAL REGION

Main Article Content

อัจรา ฐิตวัฒนกุล
สารรัตน์ วุฒิอาภา
ชมชื่น สมประเสริฐ

บทคัดย่อ

Abstract



Objectives: The purpose of this quasiexperimental study was to determine the effects of a therapeutic relationship program on the selfesteem among girls exposed to violence in a central region reception home for girls.
Methods: The samples were 60 girls aged between 13 and 17 who had experienced violence. The samples were divided equally into the experimental group and control group. Thirty girls in the experimental group received the therapeutic relationship program based on the Peplau theory. The program composed of 8 sessions, met once a week (2 hours per session) for 8 weeks. On the other hand, the 30 girls in the control group received usual care. The program was verified by three expertise. The data were collected using  personal information questionnaire and Rosenberg’ self-esteem scale. The reliability of the Rosenberg’ self-esteem scale was .86. Data were collected before and immediately after intervention. Data were analyzed using descriptive statistics, including the percentage, mean and standard deviation, and t-test.
Results: The findings revealed that (1) the self-esteem mean score of the experimental group after the  completion of the intervention was significantly higher than that before, and (2) the mean differences of self-esteem score before and after experiment of experimental group and control group were significantly different.
Conclusion: This study demonstrated that the therapeutic relationship program could be able to increase the self-esteem of girls who are victims of violence, so responsible persons and relevant agencies can use this program as an alternative form of treatment for girls who are victims of  violence to increase their self-esteem and happiness in their life.


บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของเด็กหญิงที่ถูกกระทำรุนแรง ในสถานแรกรับเด็กหญิง เขตภาคกลาง


วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กหญิงที่ถูกกระทำรุนแรง มีอายุระหว่าง 13-17 ปี จำนวน 60 ราย  แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดตามแนวคิดทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเพลบพลาว (Peplau) ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวได้รับการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน 3 ท่าน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมจำนวน 8 ครั้งๆ ละ 2 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ต่อเนื่องกัน กลุ่มควบคุม ได้รับการดูแลตามปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และ แบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของโรเซนเบิร์ก (Rosenberg) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 เก็บข้อมูลก่อนการทดลองและหลังการทดลองทันที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที


ผลการศึกษา: พบว่า (1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของกลุ่มทดลองหลังจากเสร็จสิ้นการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (M = 29.73, SD= 4.63; M = 29.73, SD= 4.63; t = 3.58) (p <.01) (2) ค่าเฉลี่ยของผลต่างคะแนนความรู้สึกมีคุณค่า ในตนเองก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( 1 = 3.87; 2 = 2.73; t = 5.97) (p < .001)
สรุป: การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดสามารถเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงสามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นทางเลือกในการบำบัดทางหนึ่งให้แก่เด็กหญิงที่ถูกกระทำรุนแรง ทั้งนี้เพื่อให้เด็กหญิงมีความรู้สึกมีคุณค่าภายในตนเองและนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่มีความสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริยา วัฒนโสภณ. (2554). ผลการทำกิจกรรมบำบัดต่อความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าของเด็กวัยรุ่นหญิงที่ถูกทารุณกรรม. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 5(3), 40.

ฉวีวรรณ สัตยธรรม. (2556). การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต เล่มที่ 1. นนทบุรี:ธนาเพรส.

ชัยวัฒน์ วงศ์อาษา. (2556). การเห็นคุณค่าในตนเอง. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2557, จาก
http://ns2.ph.mahidol.ac.th/phklb/detail/index/909

ทัศนีย์ คนเล, ยุนี พงศ์จตุรวิทย์ และมณีรัตน์ ภาคธูป. (2553). ประสบการณ์ของการถูกทารุณกรรมทางเพศในวัยรุ่นหญิง. วิทยานิพนธ์
พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลเด็กคณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

นันทกา สวัสดิพานิช. (2555). ความรุนแรงต่อเด็ก: ความท้าทายใหม่สำหรับพยาบาล. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 26(1), 101-
109.

นิดารัตน์ ชูวิเชียร. (2550). ผลของศิลปะบำบัดต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของเด็กวัยรุ่นที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ. วิทยานิพนธ์
พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิตยา สินธุ. (2547). ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวของโอลเซนต่อการเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของเด็ก
หญิงที่ถูกทารุณกรรม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัย
มหิดล.

พรอุษา ประสงค์วรรณะ. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์การถูกกระทำรุนแรงของเด็กที่เข้ารับบริการของศูนย์ช่วย
เหลือเด็ก ในโรงพยาบาล เขตจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาจิตเวชและสุขภาพจิต, คณะ
พยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์พึ่งได้กระทรวงสาธารณสุข. (2553). สธ.ชี้แนวโน้มการกระทำความรุนแรงต่อเด็กและสตรีเพิ่มสูงขึ้น. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม
2556, จากwww.mcot.net/site/content?id=50b1b933150ba061c0000e1

สัมพันธ์ มณีรัตน์. (2546). ผลของการใช้โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจและสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเภท
ในชุมชน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

แสงเทียน ธรรมลิขิตกุล. (2550). ข้อควรรู้สำหรับพยาบาลที่ดูแลเด็กถูกทารุณกรรมทางเพศ.วชิรสารการพยาบาล, 9(1), 102-115.

Berenson, K. R., & Anderson, S. M. (2006). Childhood physical and emotional abuse by a parent: Transference effects
in adult interpersonal relations. Personality and Social Psychology Bulletin, 32, 1509-1522.

Beeber, L S., & Charlie, M. L. (1998). Depressive symptom reversal for women in a Primary Care Setting: A Pilot Study.
Archives of Psychiatric Nursing, 12(5), 247-254.

Branden, N. (1985). Honoring the self. Los Angeles, CA: Bantam Books.

Brooks, R. B. (1992). Self-esteem during the school years. Pediatric Clinics of North America, 39(3), 537-551.

Chen, J. Q., Dunne, MP., & Han, P. (2004). Child sexual: a study ofamong 892 female students of a medical school.
Chinese Journal of Pediatrics, 42(1), 39-43.

Dominguez, R. Z., Nelke, C. F., & Perry, B. D. (2001). Sexual abuse of children its psychosomatic consequences.
Barring, MA: Berkshire Publishing Group Great.

Finkelhor, D., & Browne, A. (1986). Ina sourcebook on childhood sexual abuse. Thousand Oak: Sage.

Hargrove, Johnson, Lenhart, & Lucas. (2008). Peplau’s theory of interpersonal relations research with patients
experiencing traumatic events. Ferris State University.

Oflaz, F. &Aydin, H. (2008). Effectiveness of psychoeducation intervention on posttraumatic stressdisorder and coping
styles of earthquake survivors. Journal of Clinical Nursing, 17(5), 677-87.

Peplau, H. E. (1952). Interpersonal relations in nursing: A conceptual frame of reference for psychodynamic nursing.
New York: Springer.

Rew, L. (2002). The adolescent in psychiatric mental health nursing. United States: Delmar.

Roger, C.R. (1951) .Client center therapy. Boston: Houghton Mifflin.

Rosenberg, M. (1965). Society and the adolescent self-image. Middletown, CT: Wesleyan University.

Tourey, T. J.,Martsolf, D. S., Draucker, C. B., & Strickland, K. B. (2008). Hildegard Peplau’s theory and the health care
encounters of survivors of sexual violence. Journal of American Psychiatric Nurses Association, 14(2), 136-43.