ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการดื่มของผู้ติดสุรา THE EFFECT OF MOTIVATION PROGRAM ON THE DRINKING BEHAVIOR AMONG PERSONS WITH ALCOHOL DEPENDENCE

Main Article Content

นุษณี เอี่ยมสอาด
ชมชื่น สมประเสริฐ
สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว

บทคัดย่อ

Abstract



Objective: This quasi–experimental research investigated the impact of a motivational enhancement program on the drinking behaviors of alcoholics.
Methods: The samples were 60 alcoholic patients at a hospital in Saraburi Province in Thailand. Random assignment was used to assign the 30 participants into the experimental group and 30 participants into the control group. The experimental group joined the 12-week motivational enhancement program while the control group received normal treatment. The data were collected by using alcohol intake forms. Data were analyzed by comparing the amount of alcohol that the participants consumed before and after joining the motivational enhancement program using dependent and independent t-test.
Results: The findings revealed that: 1) the mean alcohol intake (M = 4.30, SD = 9.58) of the experimental group was significantly lower (t = 17.17, p < .001) than before joining the motivational enhancement program (M = ,138.79 SD = 42.29), and 2) the mean difference of alcohol intake before and after experiment of the experimental group was statistically significantly different from that of the control group ( = 134.49, = 7.60, t = 14.00, p < .001).
Conclusion: Results from this study suggested that the motivational enhancement program should be used to treat alcoholics to decrease or quit drinking behaviors in order to reduce the impact of alcohol on the individual and also enhance individual’s quality of life.


บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการดื่มของผู้ติดสุรา
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ติดสุราจำนวน 60 คนของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การคัดเข้า จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลอง 30 ราย และกลุ่มควบคุม 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบฟอร์มการดื่มสุรา การวิเคราะห์ข้อมูลในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยปริมาณการดื่ม ก่อนและหลังเข้าโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจ ของกลุ่มทดลอง ใช้สถิติแบบที ชนิดที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t-test) ส่วนการเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยปริมาณการดื่ม ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมใช้การทดสอบทางสถิติแบบที ชนิดเป็นอิสระต่อกัน (independent t-test)
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจมีค่าเฉลี่ยปริมาณการดื่ม (M = 4.3, SD = 9.58) ต่ำกว่าก่อนเข้าโปรแกรม (M = 138.79 , SD = 42.29 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 17.17 , p < .001) 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจมีค่าเฉลี่ยของผลต่างของปริมาณการดื่ม ก่อนและหลังการทดลอง แตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่
ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ( =134.49 , = 7.60, t = 14.00 , p <.001)
สรุป: โปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจสามารถทำให้ผู้ติดสุราลด ละ เลิกพฤติกรรมการดื่ม จึงควรสนับสนุนให้สถานพยาบาลนำไปปรับใช้ในการบำบัดผู้ติดสุรา เพื่อลดผลกระทบต่างๆ ที่ผู้ติดสุราได้รับจากการดื่มและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2556). การติดตามผลการค้าเสรีในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. นนทบุรี: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2553). Alcohol-related disease and alcohol consumption in Northern Thailand: a matched case-control study. Asian Biomedicine, 3(1)319-323.

ดรุณี ภู่ขาว. (2545). การพัฒนาและตรวจสอบประสิทธิภาพโปรแกรมการรักษาซึ่งได้รับการออกแบบใหเ้ ขา้ กับสภาพสงั คมไทยเพือ่
ใช้ในการให้บริการกับผู้ป่วยด้วยโรคพิษจากสุราและโรคพิษสุราเรื้อรัง. ควีนส์แลนด์: มหาลัย Queenland. (เอกสารอัดสำเนา).

ทักษพล ธรรมรังสี. (2556). สถานการณ์บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทย ปี 2556. นนทบุรี: เดอะกราฟ
โกซิสเต็มส์.

ทักษพล ธรรมรังสีและอรทัย วลีวงศ์รังสี. (2556). การประชุมสมัชชาอนามัยโลกสมัยที่ 66; 20-28พฤษภาคม 2556; นครเจนิวา.
สมพันธรัฐสวิส.

บัณฑิต ศรไพศาล. (2552). สุรากับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว. กรุงเทพ: ศูนย์วิชาการสนับสนุนกองทุนสนับสนุนการส่งเสริม
สุขภาพ.

บุญศิริ จันศิริมงคล. (2554). โรคร่วมจิตเวชของผู้ป่วยในจิตเวชที่มีปัญหาการดื่มสุรา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 19(2),
88-102.

ปรางค์ทิพย์ อุจะรัตน. (2554). พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทยเขตเมือง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านบุ เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพมหานคร. Journal of Nursing Science, 29 (1), 53-62.

ปริทรรศ ศิลปะกิจ และพันธุ์นภา กิตติรัตน์ไพบูลย์. (2554). ยุทธศาสตร์ระดับโลกเพื่อลดการดื่มสุราแบบอันตราย. เชียงใหม่: วนิดา
การพิมพ์.

ปริทรรศ ศิลปะกิจ และพันธ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2553). แผนงานการพัฒนาระบบ รูปแบบและวิธีการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาการ
บริโภคสุราแบบบูรณาการ (พิมพ์ครั้ง 3). นนทบุรี: วนิดาการพิมพ์.

ปิยวรรณ ทัศนาญชลี. (2552). กระบวนการไม่เสพยาบ้าซ้ำ กรณีศึกษาผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับ
บำบัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เพชรี คันธสายบัว. (2553). โปรแกรมการบำบัดทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคร่วมจิตเวชและยาเสพติด. กรุงเทพมหานคร:
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา.

เพ็ญพักตร์ ดารากร ณ อยุธยา. (2556). ความสำเร็จในการเลิกสุราของผู้ป่วยที่มีโรคร่วมทางจิตเวช. วารสารการพยาบาลจิตเวชและ
สุขภาพจิต, 27 (1), 1-5.

มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์. (2551). การศึกษาต้นทุนผลกระทบทางสังคม สุขภาพและเศรษฐกิจของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี. (2545). การประชุมเชิงปฏิบัติการ พลังจูงใจเพื่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน; 8 - 9 สิงหาคม 2545; โรงแรมแมก
ซ์.