ผลของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียด ต่อความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน THE EFFECT OF COPING SKILLS ENHANCEMENT PROGRAM ON CARING ABILITY OF SCHIZOPHRENIC PATIENTS’ CAREGIVERS IN THE COMMUNITY
Main Article Content
บทคัดย่อ
Abstract
Objectives: The purpose of this quasi experimental research using the pretest-posttest design were: 1) to compare caring ability of schizophrenic patients’ caregivers in the community before and after received the coping skills enhancement program, and 2) to compare caring ability of schizophrenic patients’ caregivers in the community who received the coping skills enhancement program and those who received regular nursing care.
Methods: The subjects were 40 schizophrenic patients’ caregivers residing in one district of Petchaburi province who met the inclusion criteria. They were matched- pairs with age and length of caregiving and then randomly assigned to either an experimental or control group, 20 subjects in each group. The experimental group received the coping skills enhancement program and the control group received regular nursing care. The research instruments are: 1) the coping skills enhancement program developed by the researcher comprised of 7 group activities: relationship building, appraisal of caregiving related stress, seeking resources and essential knowledge/skills for schizophrenia’s caregiver, communication skills training, problem-solving coping skills training, emotions-focused coping skills training, and reappraisal, and 2) a test of caregivers’ ability. All instruments were validated for content validity by 5 professional experts. The second instrument had Cronbach’s alpha coefficient reliability as of .95.
Results: The findings are as follows: 1. The caring ability of schizophrenic patients’ caregivers in the community after received the coping skills enhancement program was significantly higher than that before (p < .05). 2. The caring ability of schizophrenic patients’ caregivers in the experimental group who received the coping skills enhancement program was significantly higher than those in the control group who received the regular nursing care (p < .05).
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลองในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญ ความเครียด และ 2) ความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนในเขตอำเภอหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์จำนวน 40 คน ได้รับการจับคู่ด้วยอายุ และระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วย แล้วถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน ผู้ดูแลในกลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียด ส่วนผู้ดูแลในกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วยกิจกรรมกลุ่ม 7 ครั้งได้แก่ การสร้างสัมพันธภาพและให้ความรู้เรื่องความเครียด การประเมินความเครียดจากการดูแลผู้ป่วยจิตเภท การค้นหาแหล่งประโยชน์รวมทั้งให้ความรู้และพัฒนาทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเภทการฝึกทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การฝึกทักษะการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา การฝึกทักษะการจัดการกับอารมณ์ด้วยวิธีการผ่อนคลายความเครียด และการประเมินซ้ำ และ 2) แบบวัดความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท เครื่องมือทั้ง2 ชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน โดยเครื่องมือชุดที่ 2 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .95
ผลการวิจัย: ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน หลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 2. ความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
ชนะฤทธิ์ พงศ์อนุตรี. (2531). การช่วยเหลือญาติของผู้ป่วยโรคจิตเภท. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 33, 99-105.
ทุลภา บุปผาสังข์. (2545). ภาระและความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลกับการกลับมารักษาซ้ำของผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชคณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธิดา โมสิกรัตน์ และคณะ. (2548). รายงายวิจัยเรื่องการพัฒนาวิธีการเรียนรู้ร่วมกันโดยการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: กรณีศึกษาชุดวิชาไทยศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร.
นัทธมนต์ ฉิมสุข. (2555). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะกดดันด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุบผา ธนิกกุล. (2554). ผลของกลุ่มช่วยเหลือตนเองและการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิพย์ ไขสะอาด. (2555). ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดต่ออาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิเชษฐ อุดมรัตน์ และสรยุทธ วาสิกนานนท์. (2552). ตำราโรคจิตเภท (พิมพ์ครั้งที่ 1). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.
เพชรี คันธสายบัว. (2548). การป่วยซ้ำในผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 20(1), 1-9.
ละเอียด ปานนาค และ สิรินภา จาติเสถียร. (2555). การพัฒนาโปรแกรมการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลด้านการจัดการการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 26(2), 16-29.
วัชราภรณ์ ลือไธสงค์. (2541). ลักษณะความสัมพันธ์ในครอบครัวที่มีผลต่อการกลับมารักษาซ้ำในผู้ป่วยจิตเภท: กรณีศึกษากลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์.
สมภพ เรืองตระกูล. (2548). ตำราจิตเวชศาสตร์(พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.
สุนันทา นวลเจริญ. (2553). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความสามารถในการดูแลบุคคลที่พึ่งพาของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาภรณ์ ทองดารา. (2545). ผลการให้สุขภาพจิตศึกษาแก่ญาติร่วมกับผู้ป่วยจิตเภทต่อความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาสุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์,ค ณ ะ แ พ ท ย ศ า ส ต ร ์, จุฬ า ล ง ก ร ณ ์มหาวิทยาลัย.
อภิชา แช่มช้อย. (2550). ผลของโปรแกรมการเพิ่มศักยภาพในการเผชิญความเครียดจากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2544). จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.
เอื้ออารีย์ สาริกา. (2543). ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
Baker, F. A. (1989). Living with a chronically ill schizophrenia can place greet stress on individual family members and the family unit : How Families Cope. Journal of Phychosocial Nursing, 27(1), 31-35.
Bebbington, P., & Kuiper, L. (1994). The clinical utility of expressed emotion in schizophrenia : the extension of expressed emotion to the clinical staff. Acta Psychiatrica Scandinavica, 46-53.
Butzlaff, R. L., & Hooley, J. M. (1998). Expressed emotion and psychiatric relapse: A meta analysis. Archives of General Psychiatry, 55, 547-552.
Chaturaka, R., Tharanga, F., Senaka, R., Varuni, De. Silva., & Raveen, H., (2013). Caregiver strain and symtoms Of depression among principle caregivers of patients with schizophrenia and bipolar affective disorder in Sri Lanka. International Journal of Mental Health Systems, 7(1), 2.
Chi, M. H., Hsiao, C. Y., Chen, K. C., Lee, L. T., Tsai, H. C., Hui Lee, I., Chen, P. S., & Yang, Y. K. (2016). The readmission rate and medical cost of patients with schizophrenia after first hospitalization - A 10-year follow-up population-based study. Schizophrenia Research, 170, 184–190.
Chien, W. T. (2008). Effectiveness of Psychoeducation and Mutual Support Group Program for Family Caregiver of Chinese People with Schizophrenia. The open Nursing Journal, 2, 28-39.
Corey, M. S., & Corey, G. (2006). Group process and practice group (7th ed.). The united states of American: Thomson Learning, Inc. _18-0041(126-140)10.indd 138
Dagmara, R., et al., (2014). Caregiving experiences of families living with persons with schizophrenia. The Jonna Briggs Institute Database of Best Practice Information Sheets and Technical Reports, 18(6), 1-4.
Doorbos, M. M. (2002). Family caregivers and the mental health care system: Reality and Dream. Archives of Psychiatric Nursing, 16(1), 39-46.
Eakes, G. G. (1995). Chronic Sorrow: The Lived Experience of parents of chronically Mentally III Individuals. Archives of Psychiatric Nursing, 9(2), 77-84.
Evers, G., et al. (1985). Development of the Appraisal of Self-Care Agency Scale. Papers presented at International Research Conference Edmonton: Canada.
Fortinsky, R., Kercher, K., & Burant, C. (2002). Measurement and correlates of family caregiver self-efficacy for managing dementia. Aging Ment Health, 6, 153-160.
Hulya, Y., Cenk, A., & Suleyman, G. (2014). Depression, Anxiety and Quality of life in Caregivers of Long-Term Home Care Patients. Archives of Psychiatric Nursing, 28, 193-196.
Gangully, K. K., Singin R. K., & Sigh T. B. (2010). Caregiving Burden and Coping in Schizophrenia and bipolar disorder : A Qualitative Study. American Journal of Psychiatric Rehabilitation, 13(2), 126-142.
King, S., Ricard, N., Rochon, V., Steiger, H., & Nelis, S. (2003). Determinants of expressed emotion in mothers of schizophrenia.Psychiatry Research, 117, 211-222.
Kuipers, E., Bebbington, P. E., Dunn, G., Fowler, D. G., Freeman, D., Watson, P., Hardy, A., & Garety, P. (2006). Influence of carer expressed emotion and affect on relapse in non-affective psychosis. British Journal of Psychiatry, 188, 173-179.
Larzarus, S., & Folkman, S. (1984). Stress Appraisal and Coping. New York Springer Publishing Company.
Lefley, H. P. (1987). Aging parents as caregivers of mentally ill adult children: An emerging social problem. Hospital & Community Psychiatry, 38(10), 1063-1070.
Montgomery, R. J. V., Gonyea, J. G., & Hooyman, N. R. (1985). Caregiving and the Experience of the Subjective and Objective Burden. Family Relations, 34, 19.
Orem, D. E. (2001). Nursing Concepts Of Practice (4th ed.). St.louis: Mosby.
Sales, E. (2003). Family burden and quality of life. Quality of Life Research, 12, 33-41.
Tan, S. C., Yeoh, A. L., Choo, I. B., Huang, A. P., Ong, S. H., Ismail, H., Ang, P. P., & Chan,Y. H. (2012). Burden and coping strategies experienced by caregivers of person with schizophrenia in community. Journal of clinical Nursing, 21, 2410-2418.
Suro, G., & Weisman de Mamani, A. G. (2013). Burden,Interdependence,Ethnicity, and Mental Health in Caregivers of patients with schizophrenia. Family Process, 52(2), 299-311.
World Health Organization. (2010). Schizophrenia. Retrieved on 10 January 2010, from ้้http://www.int/mental_health/management/schizophrenia/en/.
World Federation of Mental Health (WFMH). (2010). Caring for caregiver: Why your mental health matters when you are caring for others. Woodbridge VA: WFMH.
Yusuf, N. (2011). Factors associated with emotional distress among caregivers of patients with schizophrenia in Katsina, Nigeria. Social Psychiatry and Psychiatric Epidemiology, 46, 11-16.