ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่ม ต่อการรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยจิตเภท THE EFFECT OF SOCIAL SUPPORT GROUP PROGRAM ON PERCEIVED STIGMA OF SCHIZOPHRENIC PATIENTS

Main Article Content

สมลักษณ์ เขียวสด
วิมลพรรณ นิธิพงศ์
ทับทิม อุตะเดช
วัลลภา แสนศิลา

บทคัดย่อ

Objective: The objective of this quasi-experimental study was to investigate the effect of the social support group program on perceived stigma of schizophrenic patients.


Methods: The thirty-six schizophrenic patients receiving services in psychiatric clinic at Ratchaburi Hospital, who met the inclusion criteria, were matched pair with age and positive/ negative symptoms and then randomly assigned into the experimental and the control group, 18 persons in each group. The experimental group received the social support group program for 4 sessions within 5 weeks. The control group received regular nursing care activities. Research instruments were:1) The social support group program 2) The Internalized Stigma of Mental Health scale and 3) The Social Support questionnaire. All instruments were validated for content validity by 5 professional experts. The reliability of the 2nd and 3rd instruments were reported by Cronbach,s alpha coefficient as of 0.8 both instruments. The t-test was used for data analysis.


Results: 1) Mean score of perceived stigma of schizophrenic patients who received the social support group program was significantly lower than that before at .05 2) After the experiment, mean score of perceived stigma of schizophrenic patients who received the social support group program was significantly lower than that of the schizophrenic patients who received regular nursing care activities at .05


Conclusion: The social support group program could reduce perceived stigma of schizophrenic patients, leading them to feel valued, accepted and be able to adapt themselves to survive in society. Therefore, nurses should be aware of stigma of schizophrenic patients. This finding could be utilized as a guideline for caring of schizophrenic patients.


 


 บทคัดย่อ


วัตถุประสงค์: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการ สนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่มต่อการรับรู้ตราบาป ของผู้ป่วยจิตเภท


วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภท ที่มารับบริการที่คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลราชบุรี ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 36 คน ได้รับการ จับคู่ตามอายุ และอาการทางบวก อาการทางลบ แล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 18 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการ สนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่ม จำนวน 4 ครั้ง ดำเนินการเป็นเวลา 5 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุม ได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยคือ 1) โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่ม 2) แบบวัดการรับรู้ตราบาป และ3) แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม เครื่องมือทุกชุดผ่านการ ตรวจความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่ 2 และ 3 มีค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .8 เท่ากันทั้ง 2 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test)


ผลการศึกษา: 1) คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ ตราบาปของผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมการ สนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่มต่ำกว่าก่อนได้รับ โปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคม แบบกลุ่มต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


สรุป: โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคม แบบกลุ่ม ช่วยลดการรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยจิตเภท ส่งผลให้ผู้ป่วยจิตเภทรู้สึกมีคุณค่า ได้รับการยอมรับ และสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้ ดังนั้น พยาบาล จึงควรตระหนักในความรู้สึกเป็นตราบาปของ ผู้ป่วยจิตเภท และนำผลการวิจัยเป็นแนวทางในการ ช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเภทต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2556). รายงานประจำปี กรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2556. กรุงเทพมหานคร: บางกอกบล็อก.

ขวัญสุดา บุญทศ, อมรรัตน์ ศรีคำสุข ไซโตะ และ สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล. (2556). การ สนับสนุนทางสังคมต่อผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 58(1), 89-100.

เขมณัฏฐ์ ศรีพรหมภัทร์. (2557). ความสัมพันธ์ ระหว่างความแข็งแกร่งในชีวิต ตราบาป ความรู้ แรงสนับสนุนทางสังคม และปัจจัย ส่วนบุคคล กับความรู้สึกเป็นภาระของ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์พยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต การพยาบาลสุขภาพจิต และจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย มหิดล.

จิตภินันท์ โชครัศมีหิรัญ. (2553). ผลของโปรแกรม กลุ่มจิตศึกษาต่อการลดความรู้สึกเป็น ตราบาปในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิต วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

จิราพร รักการ. (2549). ผลของการใช้โปรแกรม สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อภาระในการ ดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. (บรรณาธิการ). (2558). จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

โรงพยาบาลราชบุรี. (2558). ผลการปฏิบัติงาน กลุ่ม งานจิตเวช. ราชบุรี: โรงพยาบาลราชบุรี.

วัชราภรณ์ ลือไธสงค์. (2552). การตราบาปทาง สังคม : กรณีศึกษาผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาล พระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา คณะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบ แบบดั้งเดิม: Classical Test Theory (พิมพ์ ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพร บุษราทิจ และณัฎฐา สายเสวย. (2553). จิตเวชก้าวหน้า 2553. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.

สุจิตรา วรสิงห์. (2557). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรับรู้ ตราบาปในผู้ป่วยโรคจิตเภท. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ พยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะ พยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุณีย์ แสงดาว. (2554). ผลของโปรแกรมสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่มต่อภาระในการดูแลของ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์พยาบาล สาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล สุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรวรรณ วรรณชาติ. (2550). ทักษะชีวิตตามการ รับรู้ของผู้ดูแล การสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้ตราบาปของผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรัญญา คำพึ่ง. (2552). ผลของโปรแกรมฝึก ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลต่อการรับรู้ ตราบาปของผู้ที่ เป็นโรคจิ ตเภทที่มารับบริการ ที่โรงพยาบาลพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุบลรัตน์ สิงหเสนี. (2552). ปัจจัยคัดสรรที่มีความ สัมพันธ์กับการรับรู้ตราบาปของผู้ป่วย จิตเภท. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพ จิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Arboleda-Florez, J., & Stuart, H. (2012). From Sin to Science: Fighting the Stigmatization of Mental Illness. The Canadian Journal of Psychiatry, 57(8), 457-462.

Compton, M. T., Esterberg, M. L., McGee, R., Kotwicki, R. L., & Oliva, J. R. (2006). Change knowledge, attitudes, and stigma related to schizophrenia. Psychiatric
Services, 57(8), 1199-1202.

Corrigan, P.W. (2004). How stigma interferes with mental care. American Psychologist, 59(7), 614 – 625.

Erdfelder, E., Faul, F., & Buchner, A. (1996). G* POWER: A general power analysis program. Behavior Research Methods, Instruments, & Computers, 28(1), 1-11. Retrieved November 24, 2016, from https:// link.springer.com/article/10.3758/BF 03203630

Ertugrul, A., & Ulug, B. (2004). Perception of stigma among patients with schizophrenia. Social Psychiatry and Psychiatric Epidemiology, 39(1), 73-77.

House, J. S. (1981). Work Stress and Social Support (Addiso-Wesley series on occupational stress). Boston: Addison–Wesley Educational Publishers Inc.

Marram, G. D. (1978). The group approach in nursing practice (2nd ed). Saint Louis: Mosby.

Mueller, B., Nordt, C., Lauber, C., Rueesch, P., Meyer, P. C., & Roessler, W. (2005). Social support modifies perceived Stigmatization in first year of mental illness: A longitudinal approach. Social Science and Medicine, 62(1), 39-49.

Perlick, D. A., Rosenheck, R. A., Clarkin, J. F., Sirey, J. A., Salahi, J., Struening, E. L., et al. (2001). Adverse effects of perceived stigma on social adaptation of person diagnosed with bipolar affective disorder. Psychiatric Services, 52(12), 1627-1632.

Switaj, P., Wciorka, J., Grygiel, P., Switaj, J. S., Anczewska, M., & Grzesik, A. (2011). Experience of stigma by people with schizophrenia compared with people with depression or malignancies. The Psychiatrist Online, 35(4), 135-139.

Wahl, O. F. (1999). Mental health consumers experience of stigma. Schizophrenia Bulletin, 25(3), 467-478.

Werner, P., Aviv, A., & Barak Y. (2008). Self-stigma, self-esteem and age in persons with schizo¬phrenia. International Psychogeriatrics, 20(1), 174-187.

Ying, L., Wolf, A., & Wang, X. (2013). Experience stigma and self-stigma in Chinese patients with schizophrenia. General Hospital Psychiatry, 35(2), 83-88.