ปัจจัยด้านจิตสังคมที่สัมพันธ์กับความผาสุกในชีวิตของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผาสุกในชีวิตของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความผาสุกในชีวิตกับปัจจัยทางด้านจิตสังคมที่คัดสรร ได้แก่ พลังสุขภาพจิต การรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 100 คนที่มารับบริการ ณ คลินิกเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยห้าส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความผาสุกในชีวิต แบบสอบถามพลังสุขภาพจิต แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเอง และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษา: ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยความผาสุกในชีวิตในระดับสูง( = 86.26, SD = 11.81) จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ความผาสุกในชีวิตมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพลังสุขภาพจิต การรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .543, p < .001, r = .532,p < .001, r = .517, p < .001)
สรุป: ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลและบุคลากรในทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างพลังสุขภาพจิต การรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม เพื่อเพิ่มความผาสุกในชีวิตของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
กฤตยา คล้ายปาน. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการยืนหยัดเผชิญวิกฤติกับภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
เกรียงไกร ก่อเกิด. (2551). การสนับสนุนทางสังคมของผู้ที่เป็นเบาหวานในอำเภอเชียงกลางจังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จิณณพัต ธีรอภิศักดิ์กุล. (2551). คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฑารัตน์ บุญวัฒน์. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชมนาด วรรณพรศิริ. (2535). ความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายทางสังคม การสนับสนุนทางสังคมและสุขภาพจิตของพยาบาลโรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบันฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นุชจรี อิ่มมาก. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส การสนับสนุนทางสังคมกับความผาสุกทางจิตใจของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย.
ประภาพร รินสินจ้อย. (2545). การรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประอรทิพย์ สุทธิสาร. (2550). ภาวะซึมเศร้าและบริบทของผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลหนองคาย. การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปาริชาติ ทองสาลี. (2550). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองและการฝึกปฏิบัติโยคะต่อระดับนตาลในเลือดและความผาสุกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิสมัย สิโรตมรัตน์. (2553). ความว้าเหว่ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนทางสังคมและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เพชรมณี สุวรรณมาลี. (2554). พฤติกรรมการดูแลตนเองและความผาสุกของผู้สูงอายุโรคเบาหวานในแขวงสะหวันนะเขตประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ระพีพรรณ ลาภา. (2554). ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิด.2 ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในเขตจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช , คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รำไพวัลย์ นาครินทร์. (2553). ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคและแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดและควบคุมภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานสถานีอนามัยบ้านโพธิ์น้อย ตำบลกระหวันอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการระบบสุขภาพ, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เลิศมณฑน์ฉัตร อัครวาทิน, สุรางค์เมรานนท์ และสุทิติ ขัตติยะ. (2554). พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน: กรณีศึกษาผู้ป่วยตำบลม่วงงาม อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 5(1), 103-112.
ศรีวิภา ชมมาลี. (2555). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพลังสุขภาพจิตกับภาวะสุขภาพจิตของผู้ว่างงานศึกษาเฉพาะกรณี สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 5. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาคลินิกและชุมชน, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมจิต หนุเจริญกุล, ประคอง อินทรสมบัติ และพรรณวดี พุฒวัฒนะ. (2532). สิ่งรบกวนในชีวิตประจำวัน ความเข้มแข็งในการมองโลกและการรับรู้ถึงความผาสุขในชีวิตของอาจารย์พยาบาลในมหาวิทยาลัย. วารสารพยาบาล, 38(3), 169-90.
สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2553). คนไทยเสียชีวิตจากเบาหวานวันละ 21 คน เร่งใช้ 3อ.2ส. แก้ปัญหา. เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2558. จากhttps://pr.moph.go.th
อังศุมาลย์ คุ้มภัย. (2553). การศึกษาแรงสนับสนุนทางสังคมที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
American Diabetes Association [ADA]. (2012). Diagnosis and classification of diabetes mellitus. Diabetes Care, 33(S1), 62-69.
American Diabetes Association [ADA]. (2013a). Fast facts data and statistics about diabetes. Alexandria, VA.: American Diabetes Association.
American Diabetes Association [ADA]. (2013b). Standards of medical care in diabetes 2013. Diabetes Care, 36(Suppl 1), S11-66.
Bandura, A. (1986). Social foundation of thought and action: A social cognitive theory. New Jersey: Prentice-Hall.
Brandt, P. A., & Weinert, C. (1985). PRQ: Psychometric update. Washington, DC.: University of Washington.
Dupuy, H. J. (1977). The general well-being schedule. In F. McDowell & C. Newell (Eds.), Measuring health: A guide to rating scales and questionnaires (p. 125): New York: Oxford University Press.
Fonseca, V. A., Pendergrass, M., & McDuffie, R. H. (2010). Diabetes in clinical practice. London: Springer-Verlag.
IDF Diabetes Atlas (2013). International Diabetes Federation (6th ed.). Retrieved 2 May, 2015, from https://www.idf.org/diabetesatlas