การพัฒนาและผลของโปรแกรมการแก้ปัญหาเพื่อลดอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่มารับบริการในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและทดสอบผลของโปรแกรมการแก้ปัญหาต่อการลดอาการซึมเศร้าและการหายทุเลาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับบริการในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนากระบวนการเริ่มจาก 1) การวิเคราะห์สถานการณ์การบำบัดผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในโรงพยาบาล 2) การพัฒนาต้นแบบโปรแกรมการบำบัดด้วยการแก้ปัญหา (Problem Solving Therapy : PST) และ3) การประเมินโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นโดยนำไปใช้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ไม่ได้รับยาต้านเศร้าจำนวน 17 คน ผลลัพธ์หลักในการประเมินโปรแกรมคือ อาการซึมเศร้า ซึ่งประเมินด้วยแบบประเมินอาการซึมเศร้า 9Q และ HRSD-17 ก่อนและหลังการบำบัดทันที 1 เดือน และ 3 เดือน จากนั้นนำไปใช้ควบคู่กับยาต้านเศร้า ในระบบบริการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา 1 ปี และประเมินผลการนำไปใช้ วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ paired t test
ผลการศึกษา: โปรแกรมการแก้ปัญหาสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามี 7 ครั้ง พบว่า สามารถทำให้อาการซึมเศร้าของผู้ป่วยลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่าเฉลี่ยความแตกต่างของคะแนน 9Q และ HRSD-17 หลังสิ้นสุดโปรแกรมบำบัดทันที ติดตาม 1 เดือน และ 3 เดือน ลดลงจากก่อนบำบัดคือ 9Q = 8.23 (95%CI = 6.89-9.57), 8.70 (95%CI = 7.30-10.11), 8.88 (95%CI =7.49-10.26) และ HRSD-17 = 8.18 (95%CI =5.62-10.74), 8.53 (95%CI = 6.17-10.29), 9.42 (95%CI = 7.41-11.53) ตามลำดับ อัตราการหายหลังสิ้นสุดโปรแกรมบำบัดทันที ติดตาม 1 เดือน และ 3 เดือน จากคะแนน 9Q เท่ากันคือ 88.23% และจากคะแนน HRSD-17 อัตราการหายเพิ่ม ขึ้นคือ 82.35%, 88.23% และ 94.12% ตามลำดับ ซึ่งผู้ป่วยสามารถปรับมุมมองต่อปัญหาใหม่เป็นการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผลได้ เมื่อนำไปใช้ในระบบบริการผู้ป่วยโรคซึมเศร้าของโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมการแก้ปัญหาควบคู่กับยาต้านเศร้า มีอัตราการหายทุเลาเพิ่มขึ้นภายใน 8 สัปดาห์ ระยะเวลาการรับไว้รักษาในโรงพยาบาลสั้นกว่าระยะเวลารับไว้รักษาเฉลี่ยรวมของผู้ป่วยในโรคซึมเศร้าทั้งหมดที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลสรุป: โปรแกรมการแก้ปัญหาสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสามารถลดอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจนหายทุเลาได้ และสามารถนำไปใช้ในระบบบริการผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการบำบัดทางสังคมจิตใจที่มีประสิทธิผลในการรักษาโรคซึมเศร้าในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
Alexopoulos, G. S., Raue, P. J., Kiosses, D. N., Mackin, R. S., Kanellopoulos, D., McCulloch, C., & Areán, P. A. (2011). Problem Solving Therapy and Supportive Therapy in Older Adults with Major Depression and Executive Dysfunction:Effect on Disability. Archives of general psychiatry, 68(1), 33-41. doi: 10.1001/archgenpsychiatry.2010.177
Arean, P., Hegel, M., Vannoy, S., Fan, M.-Y., & Unuzter, J. (2008). Effectiveness of Problem-Solving Therapy for Older, Primary Care Patients With Depression:Results From the IMPACT Project. The Gerontologist, 48(3), 311-323. doi:10.1093/geront/48.3.311.
Bell, A. C., & D’Zurilla, T. J. (2009). Problem solving therapy for depression: A meta analysis. Clinical Psychology Review, 29(4), 348-353. doi: https://doi.org/10.1016/j.cpr.2009.02.003
Cape, J., Whittington, C., Buszewicz, M., Wallace, P., & Underwood, L. (2010). Brief psychological therapies for anxiety and depression in primary care: meta-analysis and meta-regression. BMC Medicine, 8, 38-38. doi: 10.1186/1741-7015-8-38
Cuijpers, P., Van Straten, A., & Warmerdam, L. (2007). Problem solving therapies for depression: A meta-analysis. European Psychiatry, 22(1), 9-15. doi:https://doi.org/10.1016/j.eurpsy.2006.11.001
D’Zurilla, T. J., & Nezu, A. M. (2007). Problem solving therapy: a positive approach to clinical intervention. Newyork: Springer publishing company.
Eskin, M., Ertekin, K., & Demir, H. (2008). Efficacy of a Problem-Solving Therapy for Depression and Suicide Potential in Adolescents and Young Adults. Cognitive Therapy and Research, 32(2), 227-245. doi: 10.1007/s10608-007-9172-8
Gellis, Z. D., & Kenaley, B. (2007). Problem-Solving Therapy for Depression in Adults: A Systematic Review. Research on Social Work Practice, 18(2), 117-131.doi: 10.1177/1049731507301277
George S. Alexopoulos, M. D., Christopher F. Murphy, P. D., Faith M. Gunning-Dixon, P. D., Vassilios Latoussakis, M. D., Dora Kanellopoulos, B. S., Sibel Klimstra, M. D., . . . Matthew J. Hoptman, P. D. (2008). Microstructural White Matter Abnormalities and Remission of Geriatric Depression. American Journal of Psychiatry, 165(2), 238-244. doi: 10.1176/appi.ajp.2007.07050744
Kessler, R. C., & Bromet, E. J. (2013). The epidemiology of depression across cultures. Annual review of public health, 34, 119-138. doi: 10.1146/annurev-publhealth-031912-114409
Kongsuk, T., Arunpongpaisal, S., Loiha, S., Maneeton, N., Wannasawek, K., Leejongpermpoon, J., et al. (2007). Development and validity of 9 questions for assessment of depressive symptom in Thai I-san community. Presented at the 6th Annual International Mental Health Conference, Bangkok, Thailand.
Lotrakul, M., Sukanich, P., & Sukying, C. (1996). The Reliability and Validity of Thai version of Hamilton Rating Scale for Depression. Journal of the Psychiatric Association of Thailand, 41(4), 235-246.
Nezu, A. M., Nezu, C. M., & Clark, M. A. (2008). Risk factors in depression. San Diego: Elsevier.
Randall, J. R., Walld, R., Finlayson, G., Sareen, J., Martens, P. J., & Bolton, J. M. (2014). Acute Risk of Suicide and Suicide Attempts Associated With Recent Diagnosis of Mental Disorders: A Population-Based, Propensity Score–Matched Analysis. Canadian Journal of Psychiatry, 59(10), 531-538.
Train The Brain Forum Committee. (1994). Thai Geraitric Depression Scale. Siriraj Hospital Gazette, 46, 1-9.