ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตที่เข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย

Main Article Content

พรทิพย์ วชิรดิลก
ธีระ ศิริสมุด
อนุรัตน์ สมตน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคของการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ ฉุกเฉินและการรักษาที่เหมาะสม ในกลุ่มผู้ป่วย ฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตในประเทศไทย


วิธีการศึกษา: รูปแบบการศึกษาแบบ ผสมผสานเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตที่ใช้ระบบ บริการการแพทย์ฉุกเฉิน จำนวน 26,511 ราย และ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจาก 4 จังหวัด จากแต่ละ ภูมิภาค ข้อมูลของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิต ดึงมาจากฐานข้อมูลระบบสารสนเทศการแพทย์ ฉุกเฉิน ระหว่างปี 2557-2559 และข้อมูลของที่มี ส่วนได้ส่วนเสียได้จากการสนทนากลุ่มและ สัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง พรรณนา และวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษา: สถานการณ์ผู้ป่วยฉุกเฉิน วิกฤตสุขภาพจิตเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ ฉุกเฉินมีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่เป็นชาย วัยแรงงาน พบมากที่สุดใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงฤดูฝนและหนาว โดยเฉพาะปลายฝนต้นหนาวในเดือนกันยายน และตุลาคม เมื่อผู้ป่วยมีอาการคลุ้มคลั่ง ครอบครัว และชุมชนจะร้องขอความช่วยเหลือจากตำรวจ และหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินใกล้บ้าน แต่ยังไม่มี แนวทางที่ชัดเจน การตอบสนองจึงขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์และศักยภาพของชุมชน ชุดปฏิบัติ การฉุกเฉินทุกระดับมีความรู้และทักษะไม่เพียงพอ ต่อการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มนี้ โรงพยาบาล จิตเวชมีเกณฑ์และแนวทางในการรับผู้ป่วย แตกต่างกัน หลายแห่งไม่มีระบบช่องทางด่วน บางครั้งปฏิเสธการรับผู้ป่วยไว้รักษา การพัฒนา ความร่วมมือระหว่างสายด่วนสุขภาพจิต (1323) ตำรวจ (191) และหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน (1669) ยังคงเป็นความท้าทายรวมทั้งการพัฒนาเครือข่าย ช่องทางด่วนจากชุมชนสู่โรงพยาบาลจิตเวช จะ ช่วยให้ญาติและชุมชนมั่นใจว่ามีแหล่งสนับสนุน ช่วยเหลือในเวลาที่ต้องการ


สรุป: ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตใช้ บริการการแพทย์ฉุกเฉินมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่การ เชื่อมรอยต่อจากชุมชนสู่สถานบริการที่เหมาะสม ยังเป็นปัญหา ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นส่วนใหญ่ มีความรู้และทักษะไม่เพียงพอต่อการดูแลช่วยเหลือ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิต การพัฒนาความ ร่วมมือระหว่าง ตำรวจ ชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน และ ทีมจิตเวชฉุกเฉินเคลื่อนที่เร็วเป็นความท้าทายของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2557). รายงานประจำปีกรม สุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2556. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสชิ่ง.

กรมสุขภาพจิต. (2559). รายงานประจำปีกรม สุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสชิ่ง.

กรมสุขภาพจิต. (2560). แผนยุทธศาสตร์กรม สุขภาพจิตในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2560, จาก http:// www.dmh.go.th

เบญจมาส พฤกษ์กานนท์, ธีระ ศิริสมุด, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, สกาวรัตน์ พวงลัดดา และ กนกวรรณ สุดศรีวิไล. (2556). ระบาดวิทยา ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช โครงการ สนับสนุนและส่งเสริมการบริการครบวงจร สำหรับผู้ป่วยจิตเวชในพื้นที่เป้าหมายเร่งรัด ภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, นพพร ตันติรังสี, วรวรรณ จฑา, อธิบ ตันอารีย์, ปทานนท์ ขวัญสนิท, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย และคณะ. (2556). ความชุกของโรคจิตเวชและปัญหา สุขภาพจิต: การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพ จิตของคนไทยระดับชาติ ปี พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสชิ่ง.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2559). รายงาน สถานการณ์ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ปี 2559. กรุงเทพฯ: ปัญญมิตร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). การสำรวจสุขภาพ จิต (ความสุข) คนไทย พ.ศ. 2558. สืบค้น เมื่อ 18 พฤษภาคม 2560, จาก http://service. nso.go.th

American Association for Emergency Psychiatry (AAEP). (2007). What is Emergency Psychiatry? Retrieved January 21, 2017, from https://www.emergencypsychiatry. org

Lysaker, P. H., Tsai, J., Yanos, P., & Roe, D. (2008). Associations of multiple domains of self-esteem with four dimensions of stigma in schizophrenia. Schizophrenia Research, 98(1-3), 194-200.