ปัจจัยทำนายความรุนแรงของอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ร่วมกับอาการซึมเศร้า

Main Article Content

ฐนิษฐา กลีบบัว
รังสิมันต์ สุนทรไชยา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การวิจัยแบบบรรยายเชิง ทำนาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรุนแรงของ อาการซึมเศร้า และปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนาย ความรุนแรงของอาการซึมเศร้า ในผู้ป่วยโรคสมอง เสื่อมร่วมกับอาการซึมเศร้า


วิธีดำเนินก: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรค สมองเสื่อมร่วมกับอาการซึมเศร้า อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 176 ราย ที่มารักษาแบบผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขต กรุงเทพมหานคร เครื่องมือวิจัยมีค่าความตรงเชิง เนื้อหาเท่ากับ 0.80-1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .80-.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สเปียแมน สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์คอนตินเจนซี และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกเชิงอันดับ


ผลกรวิจัย:


  1. ความรุนแรงของอาการซึมเศร้า ในผู้ป่วย โรคสมองเสื่อมร่วมกับอาการซึมเศร้า อยู่ในระดับ รุนแรงร้อยละ 1.7 ระดับมากร้อยละ 40.9 ระดับ ปานกลางร้อยละ 30.1 และระดับเล็กน้อยร้อยละ 27.3

  2. การเผชิญปัญหาแบบมุ่งปรับอารมณ์ มี ความสัมพันธ์ทางบวกกับความรุนแรงของอาการ ซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = .260; p < .05)

  3. ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ทักษะการ สื่อสารระหว่างบุคคล ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ความสามารถในการรู้คิด และ สัมพันธภาพในครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางลบ กับความรุนแรงของอาการซึมเศร้าอย่างมี นัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 (rs = -.371, -.478, -.509, -.209, -.559, ตามลำดับ)

  4. การเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา เพศ อายุ และชนิดของโรคสมองเสื่อมไม่มีความ สัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการซึมเศร้า

  5. ปัจจัยสัมพันธภาพในครอบครัว ทักษะ การสื่อสารระหว่างบุคคล ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และการเผชิญความเครียดแบบมุ่ง ปรับอารมณ์ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวน ของความรุนแรงของอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรค สมองเสื่อมร่วมกับอาการซึมเศร้าได้ร้อยละ 95.2

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2557). จำนวนและอัตราผู้ป่วย สุขภาพจิตปี 55. เข้าถึงเมื่อ12 สิงหาคม 2558 จาก http://www.dmh.go.th/report/ report1.asp

กอบหทัย สิทธิรณฤทธิ์. (2554). ปัญหาด้าน พฤติกรรมอารมณ์และจิตใจในผู้ป่วยสมอง เสื่อม (BPSD): แนวคิด และการรักษา. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 56(4), 499-462.

การุญพงค์ ภัทรามรุต. (2555). ความชุกของภาวะ ซึมเศร้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยสมอง เสื่อม คลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์. วิทยานิพนธ์ประกาศนียบัตร บัณฑิตขั้นสูง สาขาวิชาจิต เวชศาสตร์ภาค วิชาจิตเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง. (2536). แบบทดสอบ สมรรถภาพสมองของไทย Thai Mental State Examination (TMSE). สารศิริราช, 45(6), 359-374.

ณหทัย วงศ์ปการัย์. (2556). คู่มือการใช้และการให้ คะแนนแบบประเมินคอร์แนลฉบับภาษา ไทย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. (เอกสารไม่ตีพิมพ์)

ธนัญพร พรหมจันทร์. (2556). ภาวะซึมเศร้า ความ ว้าเหว่ และการเห็นคุณค่าในตนเองของ ผู้สูงอายุที่พักอาศัยในสถานสงเคราะห์ คนชราบ้านบางแค และที่พักผู้สูงอายุของ เอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา สุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์, คณะ แพทย์ศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีราลักษณ์ ฉิมพาลี. (2546). อิทธิพลของ ประสิทธิผลในการสื่อสารระหว่างบุคคล และความพึงพอใจในการทำงานที่มีต่อ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงานคนไทยในบริษัทข้ามชาติ ญี่ปุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นัยนา อินธโชติ. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคล สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร ความเข้มแข็ง และการปรับตัวของเยาวชนผู้เสพยาบ้า แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลธัญญารักษ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพ จิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิษา สมานทรัพย์ และรังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2555). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับ ความสิ้นหวังของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัย สูงอายุ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและ สุขภาพจิต, 26(3), 57-70.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทาง พยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัท ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย.

ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทาง พฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ปิ่นชนานันท์ อังคณานันท์. (2556). การศึกษา ความชุกของพฤติกรรมก้าวร้าว และปัจจัย ที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคสมองสื่อม ที่คลินิค โรคสมองเสื่อมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิตภาควิชาจิตเวชศาสตร์, คณะ แพทยศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์, สิริกร สุธวัชณัฐชา, ปริมวิชญา อินต๊ะกัน, และสายใจ ลิชนะเธียร. (2556). ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรค เรื้อรังในเขตเมือง. วารสารการพยาบาลและ การศึกษา, 6(1), 27-37.

เพ็ญพโพยม เชยสมบัติ. (2547). ความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับความว้าเหว่ของ ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ที่เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาล ศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาล- ศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนธนิช, และ จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง. (2539). การพัฒนาแบบ วัด Hamilton rating scale for Depression ฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์ แห่งประเทศไทย, 41, 235-246.

มุจรินทร์ พุทธเมตตา และรังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2559). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับ ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าใน เขตภาคกลาง. วารสารการพยาบาลจิตเวช และสุขภาพจิต, 30(2), 69-82.

รสพร เพียรรุ่งเรือง. (2556). ปัญหาสัมพันธภาพ ระหว่างบุคคลและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิต คณะแพทยศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชนี นามจันทรา. (2553). การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุ ที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสาร มฉก.วิชาการ, 14(27), 137-150.

วีนัส วัยวัฒนะ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่าง คุณลักษณะส่วนบุคคลและครอบครัวกับ คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจังหวัดสุราษฎร์ธานี, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. (2552). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทีคิวพี จำกัด.

สายพิณ ยอดกุล และจิตภินันท์ ศรีจักรโคตร. (2555). ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรค เรื้อรัง ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล บุรีรัมย์. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ, 30(3), 50-57.

สุภาภรณ์ สังขมรรธร. (2549). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์ กับการปรับตัวของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังแผนก ผู้ป่วยนอก ภาคใต้ตอนบน. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล สุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Barkar, M. L., Engedal, K., Laks, J., & Selbaek, G. (2010). A 12 month follow-up study of depression among nursing- home patients I Norway. Journal of Affective Disorder, 120(1-2), 141-148.

Billing, G. A., & Moos, R. H. (1982). Psychosocial theory and research on depression: An integrate frame work and review. Clinical Psychology Review, 2, 213-237.

Constantino, M. J., Laws, H. B., Arnow, B. A., Klein, D. N., Rothbaum, B. O., & Manber, R. (2012). The relation between changes in patients’ interpersonal impact messages and outcome in treatment for chronic depression. Journal of Consulting and Clinical Psychology, 80(3), 254-264.

Devito, J. A. (1995). The interpersonal commu¬nication book (7th ed.). New York: Harpes Collins College Publishers.

Fiksenbaum, L. M., Greenglass, E. R., Marque, S. R., & Eaton, J. A. (2005). A psychosocial model of functional disability. Ageing International, 30(3), 278-295.

Friedman, M. M. (1986). Family Nursing: Theory & Assessment. New York. Appletor. Century Green.

Hamilton, M. (1979). Development of a rating scale for primary depression illness. British journal Society clinical, 6, 278-296.

Hatcher, B. J., Durhum, J. D., & Richey, M. (1985). Overcoming stroke-Relate depression. Journal of Gerontological Nursing, 11(1), 34-39.

Jitapunkul, S., Kamolratanakul, P., & Ebrahim, S. (1994). The meaning of activities of daily living in a Thai population: Development of a new index. Age-Ageing, 23, 97-101.

Knapskog, A. B., Barcar, M. L., & Engedal, K. (2011). A comparison of the validity of the Cornell Scale and MARDS in detecting depression among memory clinic patients. Dementia and Geriatric Cognitive Disorder, 32(4), 287-294.

Lazarus, R. S., & Folkman, S. (1984). Stress, Appraisal, and Coping. New York: Springer Publishing.

Lee, R. S., Hermens, D. F., Porter, M. A., & Redoblado-Hodge, M. A. (2012). A meta-analysis of cognitive deficits in first-episode Major Depressive Disorder. Journal of Affective Disorders, 140(2), 113-124. doi:10.1016/j.jad.2011.10.023

McSweeney. K., & O’Connor, D. W. (2008). Depression among newly admitted Australian nursing home residents. International Psychogeriatrics, 20(4), 724- 737.

Morrow, P. M., & Wilson, R. C. (1961). Family relation of bright high achieving and under achieving high school boy. Child Develop¬ment, 32, 501-510.

Piboon, K., Subgranon, R., Hengudomsub, P., Wongnam ,P., & Callen, B. L. (2012). A causal model of depression among older adults in Chon Buri province, Thailand. Mental Health Nursing, 33, 118-126.

Ross, L. K., Arnsberger, P., & Fox, P. J. (2010). The relationship between cognitive functioning and disease severity with depression in dementia of the Alzheimer’s type. Aging & Mental Health, 2(4), 319- 327. DOI: 10.1080/13607869856579

Sheline Y. I., Barch D. M., Garcia K., Gersing K., Pieper C., Welsh-Bohmer K., Steffens D. C., & Doraiswamy P.M. (2006). Cognitive function in late life depression: relationships to depression severity, cerebrovascular risk factors and processing speed. Biological Psychiatry, 60(1), 58-65.

Sowislo, J. F., & Orth, U. (2013). Does low self-esteem predict depression and anxiety? A meta-analysis of longitudinal studies. Psychological Bulletin, 139(1), 213-240.

Vollman, M. W., Lamontagne, L. L., Hepworth, J. T. (2007). Coping and depressive symptoms in adults living with heart failure. The Journal of Cardiovascular Nursing, 22(2), 125-30.

Winter, Y., Korchounow, A., Zhukova, T. V., and Bertschi, N. E. (2011). Depression in elderly patients with Alzheimer dementia or vascular dementia and its influence on their quality of life. Journal of Neurosci¬ences in Rural Practice, 2(1), 27-32.

World Health Organization. (2012). Depression. Retrieved 27 September 2010, from http:// www.who.int/topics/depression/en/