การศึกษาประสบการณ์ภาวะซึมเศร้าและความเศร้าโศกจากการสูญเสียของผู้สูงอายุไทย

Main Article Content

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย
สุวิมล จอดพิมาย
พรรณภา แสงส่อง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ :


วัตถุประสงค์: การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายสภาวะซึมเศร้า และ เศร้าโศกของผู้สูงอายุไทย โดยเน้น อารมณ์ ความ รู้สึก และการปรับตัวต่อการสูญเสีย


วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย ด้วยโรคซึมเศร้าจำนวน 11 ราย เพศหญิง 8 ราย เพศชาย 3 ราย ที่มารับบริการ ณสถานบริการ สุขภาพจิตและจิตเวชของโรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว และข้อ 8eถามปลายเปิดเกี่ยวกับ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และการปรับตัวต่อ การสูญเสีย เครื่องมือทั้ง 2 ชุดผ่านการพิจารณา และแก้ไขโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ผู้วิจัยเริ่มต้น ด้วยการสัมภาษณ์ บันทึกข้อมูลคำต่อคำจนข้อมูล อิ่มตัว จึงนำมาวิเคราะห์เรียบเรียง และเสนอผล


ผลการศึกษา: 1. ความหมายของการสูญเสีย หมายถึงการที่ถูกพลัดพรากสูญเสียสิ่งที่สำคัญไป ทำให้เกิดความรู้สึกแย่มาก ๆ ส่งผลให้เกิดอาการเศร้าโศกและภาวะซึมเศร้าที่ยาวนาน 2. ความรู้สึกที่เกิดจากการสูญเสีย แบ่งเป็น 5 ประเด็น คือ 1) การสูญเสียบุคคลสำคัญเป็นความรู้สึกที่เลวร้ายโดยเฉพาะถ้าเป็นกรณีที่สูญเสียอย่างกะทันหัน นำมาซึ่งความรู้สึกเศร้าโศกและซึมเศร้าที่รุนแรง 2) การสูญเสียที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ส่งผลให้เกิดความรู้สึกเศร้าโศกและซึมเศร้าอย่างมาก3) ความรู้สึกจากการสูญเสีย ทำให้เบื่อหน่ายการติดต่อสื่อสารกับผู้คน 4) ความล้มเหลวในหน้าที่การงาน หรือสูญเสียทรัพย์สิน ทำให้เครียดมากจนไม่อยากทำอะไร และคิดแต่เรื่องอยากตาย5) อาการหนักๆ ที่เกิดจากการสูญเสีย คือ หวาดกลัว ใจสั่น นอนไม่หลับ มือสั่น แขน ขา ไม่มีแรง ซึมเศร้า และอยากทำร้ายตนเอง 3. การปรับตัวที่ดีเกิดจาก การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว การทำสมาธิ ทำกิจกรรมที่ชอบ ดูทีวี และคิดทางบวก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา กิริยางาม. (2553). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับของผู้ป่วยสูงอายุในแผนกอายุรกรรม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

นภา พวงรอด. (2558). การศึกษาภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 63-74.

พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. (2553). อารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียและจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล: หลักการและแนวทางการดูแล. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 52(1), 29-45.

พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. (2556). ความเศร้าโศกจากการสูญเสีย ใน อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย และพีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. การบำบัดรักษาทางจิตสังคมสำหรับโรคซึมเศร้า. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

ธนา นิลชัยโกวิทย์. (2550). ความเศร้าโศกเสียใจที่เกิดจากการสูญเสียและการตาย. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2555). รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: ทีคิวพี.

รศรินทร์ เกรย์, อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์, เฉลิมพล แจ่มจันทร์ และเรวดี สุวรรณนพเก้า. (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ: มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและสุขภาพ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

วไลลักษณ์ พุ่มพวง. (2556). วิธีการเผชิญกับความเศร้าเสียใจจากการสูญเสีย. เข้าถึง เมื่อ 2 มิถุนายน 2561, จาก https://www. ns.mahidol.ac.th/english/th/ ns_academic/ 56/01/sad_th.html#.W-fsmMbalCI.twitter

ศรินรัตน์ วัฒนธรนันท์. (2560). ความโศกเศร้าจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก: บทบาทพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 10(1), 13-21.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย และ สุชาติ พันธุ์ลาภ. (2559). ปัจจัยที่สัมพันธกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชนชานเมือง กรุงเทพมหานคร. วารสาร สุขภาพกับการจัดการ กับสุขภาพ. 3(3), 25- 36.

อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2559). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

American Psychiatric Association. (2000). Diagnostic and statistical manual of mental disorders, fourth edition, text revision: DSM-IV-TR. Washington, DC: American Psychiatric Publishing.

Hensley. P. L. (2006). Treatment of bereavement related depression and traumatic grief. Journal of Affective Disorders, 92(1), 117-124.

Kuber-Ross, E., & Kesster, D. (2007). On grief and grieving: Finding the meaning of grief through the five stages of loss. New York: Book Company.

Van Manen, M. (1990). Researching lived experience Canada. New York: Althouse. World Health Organization. (2002). Mental Health; Responding to the call for action. Retrieved December 15, 2009, from https://www.who.int/nmh/about/wha55_ 10_resolution_mentalhealth.pdf.

Zisook, S., & Shuchter S. R. (1991). Depression through the first year after the dead of a spouse. American journal of Psychiatry, 148(10), 1346 - 1352.