ปัญหาสุขภาพจิตและความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพจิตและความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วย
โรคมะเร็ง
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จากผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 361 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามสุขภาพทั่วไป (Thai GHQ-28) และแบบสอบถามความต้องการด้านจิตวิญญาณที่สัมพันธ์กับความเจ็บป่วย (SpIRIT) หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสุขภาพทั่วไป โดยใช้สูตรของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 (KR-20) ได้ค่าเท่ากับ .80 และแบบสอบถามความต้องการด้านจิตวิญญาณที่สัมพันธ์กับความเจ็บป่วยหาค่าความเชื่อมั่นด้วยสูตรสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค(Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าเท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 37.40 มีปัญหาสุขภาพจิตโดยรวม เมื่อจำแนกปัญหาสุขภาพจิตรายด้านตามกลุ่มอาการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีปัญหาทางสุขภาพจิตในกลุ่มอาการทางกาย ร้อยละ 93.30 กลุ่มความบกพร่องทางสังคม ร้อยละ 72.60 กลุ่มอาการวิตกกังวลและนอนไม่หลับ ร้อยละ 42.20 และกลุ่มอาการซึมเศร้าที่รุนแรงร้อยละ 7.40 สำหรับผลการศึกษาความต้องการ ด้านจิตวิญญาณ พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 21.33 มีความต้องการ ด้านจิตวิญญาณโดยรวมอยู่ในระดับสูงและร้อยละ 75.62 มีความต้องการโดยรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาความต้องการด้านจิตวิญญาณ รายด้าน พบว่าด้านที่กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการในระดับสูง ได้แก่ ด้านการมีทัศนคติเชิงบวกและความหวัง ร้อยละ 54.90 ด้านการให้ความรักและการได้รับความรักจากผู้อื่นร้อยละ 51.50 ส่วนด้านที่กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการในระดับปานกลาง คือ ด้านการมีความหมายและ เป้าหมายในชีวิต ด้านการเชื่อมโยงกับศาสนาหรือสิ่งยึดเหนี่ยวอื่น และด้านการปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อทางศาสนา คิดเป็นร้อยละ 67.60, 58.50 และ 51 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ตอบว่าสิ่งที่มีความหมายในชีวิต คือ ผู้ที่เป็นที่รัก (ร้อยละ 88.90) รองลงมา คือคำสั่งสอนทางศาสนา (ร้อยละ 52.90)
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
ชลิยา วามะลุน, นงค์นุช จิตภิรมย์ศกัดิ์, สุรีย์ ธรรมิกบวร, สมปอง พะมุลิลา, สุวรรณกิจ สมทรัพย์, และ เพชรไทย นิรมานสกุลพงศ์. (2553). ประสบการณ์ชีวิตและการจัดการของสตรีไทยอีสานที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม. อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซ็ทการพิมพ์
ฑิวาริณณ์ วัฒนาวัตถุ. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ. (2542). ความหวัง: พลังอันยิ่งใหญ่ในผู้ป่วยเรื้อรัง. วารสารพยาบาลศาสตร์, 17(3), 16-23. ทัศนีย์ ทองประทีป. (2552). จิตวิญญาณมิติหนึ่งของการพยาบาล. กรุงเทพฯ: วี พริ้นท์.
ธนา นิลชัยโกวิทย์, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, และชัชวาลย์ ศิลปกิจ. (2545). General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย: โครงการจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ปี 2545. Retrieved from https://www.dmh.go.th/test/download/view. asp?id=16.
นิตยา โรจน์ทินกร. (2536). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยและพฤติกรรมการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษา. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ผ่องศรี ศรีมรกต และรุ้งนภา ผาณิตรัตน์. (2540). การรับรู้ภาวะความเจ็บป่วยในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษา. วารสารพยาบาลศาสตร์, 15(4), 60-71.
พรพรหม รุจิไพโรจน์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างความผาสุกทางจิตวิญญาณการสนับสนุนทางสังคมและการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยกับพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
พวงทอง ไกรพิบูลย์. (2554). จิตวิทยาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. Retrieved from https:// www2.dusit.ac.th/healthsdu/doc_health/20130204131007.pdf
วิไลลักษณ์ ตันติตระกูล และสุรีพร ธนศิลป์. (2552). ความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย (Factors related to spiritual well-being of terminal cancer patients). วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก, 2(3), 27-35.
ศรีรัตน์ มากมาย, ฉัตรชัย สิริชยานุกูล, และธราณี สิริชยานุกุล. (2556). อาการที่พบบ่อยและความต้องการของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามก่อนได้รับการจำหน่ายจากโรงพยาบาล: กรณีศึกษา ณ โรงพยาบาลแพร่. วารสาร โรคมะเร็ง, 33(4), 132-145.
สมจิต หนุเจริญกุล. (2552). การพยาบาลอายุรศาสตร์ เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 14, ฉบับ ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.
สมภพ เรืองตระกูล. (2555). สารานุกรมจิตเวชศาสตร์และจิตวิทยาคลินิก. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
สิดารัตน์ สมัครสมาน. (2550). ความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยระยะสุดท้าย. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
แสงจันทร์ ทองมาก. (2556). สุขภาพวัยผู้ใหญ่และสูงอายุ: การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 13, ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.
Aksnes, L. H., Hall, K. S., Jebsen, N., Fossa, S. D., & Dahl, A. A. (2007). Young survivors of malignant bone tumors in the extremities: A comparative study of quality of life, fatigue and mental distress. Support Care Cancer, 15(9), 1087-1096.
Bush, N. J. (1998). Coping and adaptation. In R. M. Carroll-Johnson, L. M. Gormam & N. J. Bush (Eds.), Psychological nursing care: Along the cancer continuum. Pittsburgh: Oncology Nursing.
Byar, K. L., Berger, A. M., Bakken, S. L., & Cetak, M. A. (2006). Impact of adjuvant breast cancer chemotherapy on fatigue, other symptoms, and quality of life. Oncology Nursing Forum, 33(1), E18-E26.
Coyle, J. (2002). Spirituality and health: Towards a framework for exploring the relationship between spirituality and health. Journal of Advanced Nursing, 37(6), 589-597.
Davis, M. P., Khoshknabi, D., & Yue, G. H. (2006). Management of fatigue in cancer patients. Current Pain and Headache Reports, 10(4), 260-269.
Goldberg, D. P. (1972). The detection of psychiatric illness by questionnaire. Maudsley Monograph. London: Oxford University.
Highfield, M. F., & Carson, V. B. (1983). Spiritual need of patient: Are they recognized. Cancer Nursing, 5(5), 187-192.
Hocker, A., Krull, A., Koch, U., & Mehnert, A. (2014). Exploring spiritual needs and their associated factors in an urban sample of early and advanced cancer patients. European Journal of Cancer Care, 23(6), 786-794. doi:10.1111/ecc.12200
Maslow, A. (1970). Human needs theory: Maslow’s hierarchy of human needs. In R. F. Craven & C. J. Hirnle (Eds.), Fundamental of nursing: Human health and function (3rd ed.) Philadelphia: Lippincott.
O’Brien, M. E. (2013). Spirituality in Nursing. MA: Jones & Bartlett. Taylor, E. J. (2006). Prevalence and associated factors of spiritual needs among patients with cancer and family caregivers. Oncology Nursing Forum, 33(4), 729-735.
Walton, J. (1996). Spiritual relationships: A concept analysis. Journal of Holistic Nursing, 14(13), 237-250.
Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper & Row.