ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท

Main Article Content

เสาวนีย์ คงนิรันดร
ดวงใจ วัฒนสินธุ์
ชนัดดา แนบเกษร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาภาระการดูแล และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท


วิธีการศึกษา: การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาชนิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทำนายกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จำนวน 90 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ภาระการดูแลทัศนคติต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเภทพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทและการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการศึกษา: ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทมีค่าเฉลี่ยภาระการดูแลโดยรวมเท่ากับ 42.98 (SD = 16.84)จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า ทัศนคติต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเภทและการสนับสนุนทางสังคมสามารถร่วมกันทำนายภาระการดูแลได้ถึงร้อยละ 63.90 (R2= .639, F = 19.597, p < .001)


สรุป: บุคลากรทางด้านสุขภาพควรมุ่งเน้นการเสริมสร้างทัศนคติต่อการดูแลและการสนับสนุนทางสังคมเพื่อลดภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราพร รักการ. (2549). ผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐิยา พรหมบุตร. (2545). สุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสุขภาพจิต และการพยาบาลจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดารา การะเกษร.(2545). ความรู้การปฏิบัติและความต้องการการสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้านของผู้ดูแลในครอบครัวไทย มุสลิม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ตวงรัตน์ แซ่เตียว. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลการเผชิญความเครียดการสนับสนุนทางสังคมการดูแลตนเอง ด้านสุขภาพกับภาวะสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทีปประพิน สุขเขียว. (2543). การสนับสนุนทางสังคมกับภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นพรัตน์ ไชยชำนิ. (2544). ผลของการใช้โปรแกรมการดูแลแบบองค์รวมต่อภาระและความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวนันท์ ปิยะวัฒน์กูล.(2552). บทบาทของครอบครัวและการดูแลครอบครัว. ใน พิเชฐ อุดมรัตน์ และสรยุทธ วาสิกนานนท์ (บรรณาธิการ), ตำราโรคจิตเภท (หน้า 239-304). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูล. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัย ทางการพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย.

ประภาศรี ทุ่งมีผล. (2548). การสนับสนุนทางสังคมความพร้อมในการดูแลและความเครียดของมารดาเด็กออทิสติก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

ปาณิสรา เกษมสุข. (2551). ผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดประคับประคองต่อภาระการดูแลและภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

พรทิพย์ โพธิครูประเสริฐ. (2539). ผลของการให้คำปรึกษาแบบยึดบุคคลเป็นศูนย์กลางที่มีต่อทัศนคติของญาติต่อการดูแลผู้ป่วย โรคจิตเภท จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2558). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

รจนา ปุณโณทก. (2550). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัชนี ไพรสวัสดิ์.(2551). บทบาทของสมาชิกครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้าน. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และ สาธารณสุข, คณะสังคมศาสตร์การแพทย์ และสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัชนีกร อุปเสน. (2541). การศึกษาบทบาทและภาระของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้าน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เวทีนี สุขมาก, อุไรวรรณ โชครัศมีหิรัญ และเอมหทัย ศรีจันทร์หล้า. (2544). ยุทธวิธีในการดูแลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตของญาติ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 16(2), 107-116.

วัชราภรณ์ ลือไธสงค์. (2541). ลักษณะความสัมพันธ์ในครอบครัวที่มีผลต่อการกลับมารักษาซ้ำในผู้ป่วยจิตเภท. กรณีศึกษา: กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2554). การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วี. พริ้นท์.

อรวรรณ วรรณชาติ. (2550). ทักษะชีวิตตามการรับรู้ของผู้ดูแลการสนับสนุนทางสังคมและการรับรู้ตราบาปของผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุษา แก้วอำภา. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลภาระในการดูแลกับสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 26(2), 127-143.

American Psychiatric Association [APA]. (2013). Diagnostic and statistical Manual of mental disorder (5thed.). Arlington, VA: American Psychiatric Association.

Aneshensel, C., Pearlin, L., Mullan, J., Zarit, S., & Whitlatch, C. (1995). Profiles in caregiving: The unexpected career. Santiago: Academic.

Doornbos, M. M. (2002). Family caregivers and the mental health care system: Reality and Dream. Archives of Psychiatric Nursing, 16(1), 39-46.

Mcdonell, M. G., Short, R. A., Berry, C. M., & Dyck, D. G. (2003). Burden in schizophrenia caregivers: Impact of family psychoeducation and awareness of patient sociality. Family Process, 42(1), 91-103.

Montgomery, R. J. V., Gonyea, J. G., & Hooyman, N. R. (1985). Caregiving and experience of subjective and objective burden. Family Relation, 34, 19-26.

Pearlin, L. I., Mullan, J. T., Semple, S. J., & Skaff, M. M., (1990).Caregiving and the stress process: An overview of concepts and their measures. Gerontologist, 25, 32-6.

Thorndike, R. M. (1978). Correlation procedures for research. New York: Gardner Press. Weinert, C. (2000). PQR2000. Retrieved August 18, 2012, from http:www.montana.edu/ cweinert/instruments/pqr2000.html.