ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพเพื่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคจิตเภท

Main Article Content

ณัฏฐพัชร สุนทโรวิทย์
อัญชลี วิจิตรปัญญา
ปาณิสรา อินทร์กันทุม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรม สุขภาพเพื่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของ ผู้ป่วยโรคจิตเภท ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะการติดตามผลของกลุ่มทดลอง และ เปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพเพื่อความร่วมมือ ในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคจิตเภท ก่อนการ ทดลอง หลังการทดลอง และระยะการติดตาม ผลระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริม สุขภาพกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ


วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi–experimental research) ชนิดสองกลุ่มวัดซ้ำ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตาม ผล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจิตเภทที่เข้ารับการ รักษาซ้ำแบบผู้ป่วยในครั้งที่ 2 มีประวัติรักษาด้วย ยาไม่ต่อเนื่อง จำนวน 68 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเฉพาะเจาะจง และสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 34 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 34 คน กลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่ผู้วิจัยพัฒนา ขึ้น ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการพยาบาลตาม ปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมิน พฤติกรรมสุขภาพเพื่อความร่วมมือในการรักษา ด้วยยา และ 3) โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ซึ่ง เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิง เนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน มีค่า IOC เท่ากับ 1 และค่าความเที่ยงอัลฟาของครอนบาค ของเครื่องมือลำดับที่ 2 เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทีชนิดที่เป็น อิสระต่อกันและสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน เมื่อมีการวัดซ้ำ


ผลการศึกษา: 1) ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรม สุขภาพเพื่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของ ผู้ป่วยโรคจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริม สุขภาพทันทีและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนได้ รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.001 2) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรม สุขภาพเพื่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของ ผู้ป่วยโรคจิตเภทกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพทันทีและระยะติดตามผลแตกต่าง จากกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.001


สรุป: โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อ พฤติกรรมสุขภาพเพื่อความร่วมมือในการรักษา ด้วยยาของผู้ป่วยโรคจิตเภท สามารถเพิ่มพฤติกรรม สุขภาพเพื่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยา ดังนั้น จึงควรมีการขยายผลการทดสอบไปในผู้ป่วยโรคจิต เวชทุกกลุ่ม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ ชื่นสมบัติ. (2560). ผลการดำเนินการกิจกรรมสุขภาพจิตศึกษาโรคจิตเภท งานผู้ป่วยในชาย.โรงพยาบาลจิตเวชเลย ราชนครินทร์เลย.

งานผู้ป่วยในหญิง. (2560). ผลการดำเนินการกิจกรรมสุขภาพจิตศึกษาโรคจิตเภท. โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์เลย.

ณัฏฐพัชร สุนทโรวิทย์. (2556). สถานการณ์การ กลับเข้ารับการรักษาซ้ำในผู้ป่วยจิตเภทหญิงโรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต.

เพชรี คันธสายบัว. (2544). การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มผู้ป่วยจิตเภทที่ป่วยซ้ำและไม่ป่วยซ้ำ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2555). จิตศาสตร์รามาธิบดี (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สวิชาญการพิมพ์.

รัญณชา มังคละพลัง, กุลชญา ลอยหา, และจำลอง วงษ์ประเสริฐ. (2560). ผลการส่งเสริม สุขภาพตามแนวคิดของเพนเดอร์ในการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมความดัน โลหิตสูงเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนใน ผู้สูงอายุความดันโลหิตสูงของศูนย์สุขภาพ ชุมชน อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุบลราชธานี, 6(2), 5 – 17.

วัชรินทร์ วุฒิรณฤทธิ์. (2560). การส่งเสริมความ ร่วมมือในการรับประทานยาสำหรับผู้ป่วย จิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวช และสุขภาพจิต, 31(1), 1 – 12.

ภาวินี ธนบดีธรรมจารี และบุญเยี่ยม เต็มราษี. (2561). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการ รับรู้ความเจ็บป่วยและความเชื่อการกินยา ต่อพฤติกรรมความร่วมมือในการกินยาของ ผู้ป่วยโรคจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวช และสุขภาพจิต, 32(3), 133 – 153.

Allison, G. M. (2013). The experience of adult women with schizophrenia who take second generation antipsychotic. Montana state university.

Azita, N., Farideh, E., Rahim, T., & Katayon, V. (2017). The effect of education based on Health Promotion Model (HPM) on Adherence to Antiretroviral Therapy (ART) in HIV- Infected Patients, Health Scope, 6(4), 562-592.

Azrin, N. H., & Teichner, G. (1998). Evaluation of an instructional program for improving medication compliance for chronically ill outpatients. Behavior Research Therapy, 39(9), 849-861.

Bressington, D., Mui, J., & Gray, R. (2013). Factors associated with antipsychotic medication adherence in community-based patients with schizophrenia in Hong Kong: A cross sectional study. International Journal of Mental Health Nursing, 22, 35 - 46.

Costa, J. A., Balga, R. S., Alfenas, R. C., & Cotta, R. M. (2011). Health promotion and diabetes: discussing the adherence and motivation of diabetics that participate in health programs. Ciênc. Saúde Coletiva, 16(3), 2001-2009.

Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (2013). Number of outpatient psychiatric outcomes, Retrived, 2017 November 27, from http://www.dmh.go.th/ report/report1.asp (in Thai)

Drake, R. E., Essock, S. M., Shaner, A., Carey, K. B., Minkoff, K., & Kola, L. (2004).Implementing dual diagnosis services for clients with severe mental illness for clients with severe mental illness. Psychiatric Service, 9(1), 102 – 110.

Gilmer, T. P. et al. (2004). Adherence to treatment with antipsychotic medication and health care costs among medicaid beneficiaries with schizophrenia. The American Journal of Psychiatry, 161(4), 692 – 699.

Haynes, R. B., Taylor, D. W., & Sackett, D. L. (1979). Compliance in health care. Baltmore: John Hopkins University Press.

Higashi, K., Medic, G., Littlewood, K. J., Diez, T., Granström, O., & De Hert, M. (2013). Medication adherence in schizophrenia: Factors influencing adherence and consequences of nonadherence, a systematic literature review. Therapeutic advances in psychopharmacology, 3(4), 200–218. https://doi.org/10.1177/ 2045125312474019

Hui, C. L., Chen, E. Y., Kan, C. S., Yip, K. C., Law, C.W., & Chiu, C. P. Y. (2006). Antipsychotics adherence among out-patients with schizophrenia in Hong Kong. Journal of Medicine, 55(1), 9-14.

Jos, W. R., & Twisk. (2003). Applied longitudinal data analysis for epidemiology: A practical guide. Cambridge: Cambridge university press.

Lacro, J., Dunn, L., Dolder, C., Leukband, S., & Jeste, D. (2002). Prevalence of and risk factors for medication nonadherence in patients with schizophrenia: a comprehen-sive review of recent literature. Journal of Clinical Psychiatry, 63, 892 – 909.

Leucht, S., Tardy, M., Komossa, K., Heres, S., Kissling, W., Salanti, G., et al. (2012). Anitpsychotic drugs versus placebo for relapse prevention in schizophrenia: a systematic review and meta-analysis. Lancet, 379, 2063-71.

Lieberman, J. A., Stroup, T. S., McEvoy, J. P., SwartZ, M. S., Rosenheck, R. A., Perkins, D. O., et al. (2005). Effectiveness of antipsychotic drugs in patients with chronic schizophrenia. The New England Journal of Medicine, 353, 1209-23.

Lindström, E., & Bingefors, K. (2000). Patient compliance with drug therapy in schizophrenia: Economic and clinical issues. Pharmacoeconomics, 18(2), 106-124. DOI: 10.2165/00019053-200018020- 00002

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parson, M. A. (2006). Health promotion in nursing practice. (5thed). NJ: Pearson Education Inc.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2011). Health Promotion in nursing practice (6th ed.). NJ: Pearson Education LTD.

Saboo, A.V., Deshmukh, P. S., & Deshmukh, S. B. (2015). Study on non-compliance in patients of schizophrenia. Journal of Evolution of Medical and Dental Sciences, 4(47), 8112-8118.

Sadock, B. J., & Sadock, V. A. (2000). Comprehensive textbook of psychiatry. Philadelphia: Lippincott Wiliams and Wikins.

Sendt, K.V., Tracy, D. K., & Bhattacharyya, S. (2015). A systematic review of factors influencing adherence to antipsychotic medication in schizophrenia-spectrum disorders. Psychiatry Research, 225(1-2), 14-30. Doi:10.1016/j.psychres.2014.11.002

Sullivan, G., Wells, K. B., Morgenstern, H., & Leake, B. (1995). Identifying modifiable risk factor for re-hospitallization: A case control study seriously mentally ill persons in Mississippi. American Journal of Psychiatry, 152(12), 1749 -1756.

World Health Organization. (2006). The ICD-10 classification of mental and behavioral disorder: Clinical description and diagnostic guidelines. Geneva: WHO.