ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน

Main Article Content

แก้วตา มีศรี
เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ อายุ เพศ ความรู้เกี่ยวกับการดูแล การมีโรคประจำตัว ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วย สัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลและผู้ป่วยและการสนับสนุนทางสังคมกับความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชบุรี โรงพยาบาลนครปฐม และโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จำนวน 143 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบวัดความรู้ แบบวัดสัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลและผู้ป่วย แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมแบบสัมภาษณ์ความสามารถของผู้ดูแล ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .83, .90, .90 และ .93 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล

ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

1. ความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทอยู่ในระดับสูง ( = 3.79)

2. อายุ ระยะเวลาในการดูแล สัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลกับผู้ป่วยจิตเภท และการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .230,.286, .561 และ .642 ตามลำดับ)

3. การมีโรคประจำตัวของผู้ดูแลมีความสัมพันธ์ทางลบกับความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.364)

4. เพศและความรู้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท

คำสำคัญ : ความสามารถในการดูแล, ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท, ผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน

 

Abstract

The purpose of this descriptive research was to study the relationship between the factors related to capabilities among caregivers of schizophrenic patients in community and their relationships among age, gender, the knowledge of caring, chronic illness, duration of care, caregivers and schizophrenic patients relationships, and social support. Subjects were 143 caregivers of schizophrenic patients who follow up in Out Patients Department at Ratchaburi  Hospital, Nakhonprathom Hospital, and Chaoprayayomaraj Hospital were selected by random sampling technique. The research instrument was a set of questionnaire which consisted of 1) knowledge in caring, 2) caregiver and schizophrenic patients relationships, 3) social support, 4) caregivers’ capabilities in caregivers of schizophrenic patients. The reliability of questionnaire were .83,.90, .90 and .93 respectively. Statistic technique used in data analysis were frequency, percent, mean, standard deviation, Pearson’ s Product Moment Correlation and Point Biserial Correlation.

Major findings were as follows;

1. Caregivers’ capabilities for caring of schizophrenic patients was at a high level (= 3.79) Age, Duration of care, caregiver and schizophrenic patients relationships and social support were significantly positive correlated with caregivers’ capabilities in caregivers of schizophrenic patients at level of .05 (r = .230, .286, .561 and .642 respectively)

2. Chronic illness in caregiver of schizophrenic patients was significantly negative correlated with caregivers’ capabilities in caregivers of schizophrenic patients at level of .05 (r = -.364)

3. Gender and Knowledge in caring did not correlated with caregivers’ capabilities in caregivers of schizophrenic patients The result of this study should be applied to develop the program to promote participation of families of schizophrenic patients.

Keywords : Caregivers’ ability, caregiver, schizophrenic patients, community

Article Details

บท
บทความวิจัย