ผลของสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อพฤติกรรมป้องกันการป่วยซ้ำ ของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมป้องกันการป่วยซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน จำนวน 30 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน กลุ่มควบคุม 15 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันการป่วยซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท ซึ่งตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน หาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้.82 และคูเดอร์-ริชาร์ดสันได้ .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ t-testผลวิจัยพบว่า คะแนนพฤติกรรมป้องกันการป่วยซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนสูงขึ้นหลังได้รับสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และคะแนนพฤติกรรมป้องกันการป่วยซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนกลุ่มที่ได้รับสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < .05)
คำสำคัญ : สุขภาพจิตศึกษาครอบครัว, พฤติกรรมป้องกันการป่วยซ้ำ, ผู้ป่วยจิตเภท
Abstract
The objectives of this quasi – experimental research were to determine relapse preventive behaviors among schizophrenic patients before and after giving family psychoeducation and to compare relapse preventive behaviors of schizophrenic patients between the experimental group and control group. Research sample consisted of 30 schizophrenic patients in community. Sample were 15 in experimental group and 15 in control group. The instruments were family psychoeducation program and relapse preventive behavior questionnaires. The two instruments were tested for content validity by 5 professional experts and the questionnaires were test for reliability. The reliability of the total questionnaire was .82. Statistical techniques used in data analysis were mean, standard deviation and t-test (paired t-test and independent t-test)
The result of this study revealed that there lapse preventive behaviors of schizophrenic patients in community after using family psychoeducation was significantly higher than before (p < .05) and the relapse preventive behaviors of schizophrenic patients in community after using family psychoeducation was significantly higher than that of schizophrenic patients who participated in the regular caring activities.
Keyword : family psychoeducation, relapsepreventive behaviors, schizophrenic patients
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย