ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการทำหน้าที่ของครอบครัวตามการรับรู้ของ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในครอบครัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการทำหน้าที่ของครอบครัวตามการรับรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในครอบครัว และเพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรร ได้แก่ ระบบครอบครัว ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท การเผชิญความเครียด ภาระในการดูแลของผู้ดูแล ผู้ป่วยจิตเภทและการสนับสนุนทางสังคมกับ การทำหน้าที่ของครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแล ในครอบครัวที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลที่ให้บริการด้านสุขภาพจิตและจิตเวช ในสังกัดกรมสุขภาพจิต จำนวน 160 คน ที่ได้ มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามลักษณะครอบครัว แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเภท แบบวัดการ เผชิญความเครียด แบบวัดภาระผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม และแบบวัดการ ทำหน้าที่ของครอบครัว ซึ่งได้รับการตรวจสอบ ความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และ หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคมีค่าความ เที่ยงเท่ากับ .82, .80, .80, .80, .80 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1. ระดับการทำหน้าที่ของครอบครัวตาม การรับรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในครอบครัว โดยรวมอยู่ในระดับดีพอสมควร มีการปฏิบัติ ภารกิจในการดูแลผู้ป่วยไม่ครบถ้วนมีผลรวม คะแนนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.50-3.49 2. การสนับสนุนทางสังคม และการเผชิญ ความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการทำหน้าที่ของครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .590, .421) 3. ภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท มีความสัมพันธ์ทางลบกับการทำหน้าที่ของ ครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.566) 4. ลักษณะครอบครัวและความรู้ไม่มีความ สัมพันธ์กับการทำหน้าที่ของครัวอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : การทำหน้าที่ของครอบครัว, ผู้ดูแล ผู้ป่วยจิตเภทในครอบครัว
Abstract
The purposes of this descriptive research were to study family functioning as perceived by family caregiver of schizophrenic patients, and determine the relationships between characteristics family, knowledge, burden, coping, social support and family functioning. Research subjects consisted of 160 caregivers of schizophrenic patients who were receiving service in out patient departments of mental health hospitals under the jurisdiction of Division of Mental Health, selected by purposive sampling method. The research instruments consisted of a personal data questionnaire, a characteristics family questionnaires, a chulalongkorn family inventory questionnaire, a knowledge scale, a burden scale, a coping scale, and a social support scale. The instruments were tested for content validity by 5 professional experts. Chronbach ,s Alpha coefficient of the scale were .82, .80, .80, .80, and .80 respectively. Data were analyzed by using Percentage, Mean, Standard deviation, and Point Biserial Correlation coefficient.
Major results of this study were as follows:
1. The level of family functioning perceived by family caregivers of schizophrenic patients was at a quite well level.
2. Social support and copping the stress were positive significantly related to family functioning perceived by family caregivers of schizophrenic patients, at .05 level (r = .590, 421)
3. Burden was negative significantly related to family functioning, at .05 level (r = -.566)
4. Characteristics family and knowledge locus of control were not significantly related to family functioning perceived by family caregivers of schizophrenic patients, at .05 level
Keyword : Family functioning, Caregivers of schizophrenic patients
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย