การพัฒนาเครือข่ายพยาบาลศูนย์บริการสาธารณสุข เพื่อการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้าน

Main Article Content

กาญจนา เหมะรัต
วิภาวี เผ่ากันทรากร
สุชาดา หุณฑสาร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

โรคจิตเภทเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่สำคัญของสาธารณสุขทั่วโลก เนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสกลับเป็นซ้ำสูง การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านโดยพยาบาลวิชาชีพเป็นสิ่งจำเป็นและช่วยป้องกันการกลับป่วยซ้ำ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการของพยาบาลเยี่ยมบ้านในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน 2) จัดหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพพยาบาลเยี่ยมบ้านในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้าน และ 3) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้านของพยาบาลเยี่ยมบ้าน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้ร่วมวิจัยเป็นพยาบาลวิชาชีพในศูนย์บริการสาธารณสุขที่สมัครใจเข้าร่วมวิจัย จำนวน 109 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วยผู้ป่วยจิตเภทที่รักษาตัวในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาจำนวน 106 คน และญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสังเกตพฤติกรรม แบบสอบถามความรู้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบประเมินอาการโรคจิต (BPRS) แบบประเมินคุณภาพชีวิตชุดย่อขององค์การอนามัยโลก (WHO-QOLBREF) แบบประเมินความรู้สึกเป็นภาระของญาติ (Burden of Care Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและความต้องการของพยาบาลเยี่ยมบ้าน ศูนย์บริการสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนพบปัญหาและความต้องการใน 3 บริบท ได้แก่ บริบทการดูแลผู้ป่วยจิตเภทพบว่าขาดระบบการส่งต่อที่ชัดเจน บริบทการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเภทของพยาบาลพบว่าเป็นในลักษณะขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วย และบริบทของผู้ป่วยพบว่า เป็นในลักษณะของความกลัวและการปกปิด 2) แนวทางการพัฒนาศักยภาพพยาบาลเยี่ยมบ้านในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้าน คือการสร้างเสริมพลังอำนาจให้แก่พยาบาล โดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเภทและการฝึกการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์จริง 3) การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน การดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้านของพยาบาลเยี่ยมบ้าน พบว่า ผู้ป่วยมีอาการลดน้อยลง มีวันเฉลี่ยที่อยู่บ้านได้นานขึ้น และญาติมีความรู้สึกเป็นภาระลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ : การดูแลที่บ้าน, พยาบาลศูนย์บริการสาธารณสุข, ผู้ป่วยจิตเภท

 

Abstract

Schizophrenia is a significant mental health problem in a global public health because of its high recurrence. Psychiatric home care for the psychiatric patients provided by professional nurses is necessary to prevent its recurrence. This action research aimed to 1) examine problems and needs of home visiting nurses to provide care for schizophrenic patients in community; 2) explore means to develop competencies of home visiting nurses to provide care for schizophrenic patients at home; and 3) evaluate care for schizophrenic patients provided by home visiting nurses. Participants were 109 voluntary nurses of public health centers in Bangkok, 106 schizophrenic patients who were admitted at Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry and 103 patient’s relatives. Instruments composed of behavioral observation form, knowledge questionnaire, semi-structure interview, Brief Psychiatric Rating Scale (BPRS), The World Health Organization Quality of Life – BREF(WHO-QOL–BREF), and Burden of Care Questionnaire. Qualitative data were analyzed using content analysis. Quantitative data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and t-test.

The results were found that 1) Problems and needs of home visiting nurses to provide care for schizophrenic patients in community were revealed in 3 contexts: context of care was a lack of clear referral system, context of nurses was a lack of sufficient knowledge to provide care, and context of patients was fear and conceal. 2) Means to develop competencies of home visiting nurses to provide care for schizophrenic patients at home was to empower nurses by setting a workshop of caring for schizophrenia and training nurses to provide care in the real situation. 3) Evaluation of care for schizophrenic patients provided by home visiting nurses at home was found that schizophrenic patients reported fewer symptoms, the average length of stay at home was longer, and their relatives reported less burden of care than that before at a significant level.

Keywords : Psychiatric home care, Public health center nurses, Schizophrenia patients

Article Details

บท
บทความวิจัย