ผลของกลุ่มช่วยเหลือตนเองและการเสริมสร้างพลังอำนาจ ต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน

ผู้แต่ง

  • บุบผา ธนิกกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนมะโนรา จังหวัดสมุทรสงคราม
  • เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์ อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กลุ่มช่วยเหลือตนเองและการเสริมสร้างพลังอำนาจ, ภาระการดูแล, ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท, Self-Help-Group and Empowerment, burden, Caregivers of Schizophrenic patients

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังการเข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเองและการเสริมสร้างพลังอำนาจ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้เข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเองและการเสริมสร้างพลังอำนาจกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทที่พาผู้ป่วยจิตเภทมารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลนภาลัย จำนวน 30 คน และได้รับการจับคู่เพื่อสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 15 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามแผนการดำเนินกลุ่มช่วยเหลือตนเองและการเสริมสร้างพลังอำนาจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) กลุ่มช่วยเหลือตนเองและการเสริมสร้างพลังอำนาจ 2) แบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท และ 3) แบบประเมินพลังอำนาจผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยเครื่องมือสองชุดหลัง มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .86 และ .77 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ภายหลังเข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเองและการเสริมสร้างพลังอำนาจต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ภายหลังการทดลอง ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทของกลุ่มที่เข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเองและการเสริมสร้างพลังอำนาจ ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : กลุ่มช่วยเหลือตนเองและการเสริมสร้างพลังอำนาจ, ภาระการดูแล, ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท

 

Abstract

The purposes of this two groups pretestposttest quasi experimental research were : 1) to compare the burden in caring of caregivers of schizophrenic patients before and after the participation in Self-Help Group and Empowerment, and 2) to compare the burden in caring of schizophrenic patients who participated in Self-Help Group and Empowerment and those who participated in regular caring activities. A research sample of 30 caregivers who attended to schizophrenic patients at Psychiatric clinic, Out-patient Unit, Napalai Hospital, were matched pair and then randomly assigned to experimental group and control group with 15 subjects in each group. The experimental group participated in Self-Help Group and Empowerment. The control group received regular caring activities. Research instruments were: 1) The Self-Help Group and Empowerment, 2) The Caregiver Burden Scale, and 3) The Psychological Empowerment Scale. All instruments were validated for content validity by 5 professional experts. The Chronbach’s Alpha coefficient of reliability of the two scale instruments were .86 and .77, respectively. The t-test was used in data analysis.

Major findings were as follows: 1) The burden in caring of caregivers of schizophrenic patients who participated in Self-Help Group and Empowerment was significantly lower than that before, at .05 level. 2) After the experiment, the burden in caring of caregivers of schizophrenic patients who participated in Self-Help Group and Empowerment was significantly lower than those caregivers who received regular caring activities at .05 level.

Keywords : Self-Help-Group and Empowerment, burden, Caregivers of Schizophrenic patients

Downloads