ผลของสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวแบบกลุ่มต่อภาระการดูแล และการแสดงออกทางอารมณ์สูงของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวแบบกลุ่มต่อภาระการดูแลและการแสดงออกทางอารมณ์สูงของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติและจับคู่โดยใช้เกณฑ์ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยและความเพียงพอของรายได้ แล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 16 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวแบบกลุ่ม ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นการให้ความรู้และพัฒนาทักษะในเรื่องการสร้างสัมพันธภาพและแรงจูงใจ การดูแลผู้ป่วยจิตเภท การแสดงออกอารมณ์ที่เหมาะสม การเผชิญความเครียดที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารและแสวงหาแหล่งสนับสนุนทางสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ1) สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวแบบกลุ่ม 2) แบบวัดภาระการดูแล (จิราพร รักการ, 2549) 3) แบบวัดระดับการแสดงออกทางอารมณ์ (Cold & Kazarian,1988) 4) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเภท (จิราพร รักการ, 2549) และ 5) แบบวัดการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา (ชนมาพรพงศ์จันทรเสถียร, 2549) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่าภาระการดูแลและการแสดงออกทางอารมณ์สูงของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท หลังได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวแบบกลุ่มต่ำกว่า ก่อนได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวแบบกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และภายหลังการทดลองผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวแบบกลุ่มมีภาระการดูแลและการแสดงออกทางอารมณ์สูง ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวแบบกลุ่มภาระการดูแล, การแสดงออกทางอารมณ์สูง
Abstract
The purposes of this quasi-experimental research were to study the effect of family group psychoeducation on Burden and High Expressed Emotion in Caregivers of Schizophrenic Patients in Community. The study sample were caregivers of schizophrenic patients in community who met the inclusion criteria was purposively recruited. They were matched-pair according to care giving period and incomes and then randomly assigned to experimental group and control group equally as 16 per group. The control group received regular caring activities, whereas the experimental group received family group psychoeducation, Intervention Program that developed by the researcher, This program was composed of providing education and improving skills related to interpersonal relationships, caring for schizophrenic patients, appropriate expressed emotions, effective coping and communication, and seeking social support. Research instrument were; 1) Family Group Psychoeducation 2) The Caregiver Burden Scale (Rakkarn, 2006) 3) The Level of Expressed Emotion Scale (Cold & Kazarian, 1988) 4) The Knowledge of Caregivers test (Rakkarn, 2006) and 4)The Problem Focus Coping Scale (Pongjuntonstien, 2006). Descriptive statistics and t-test were used in data analysis. The result of this study revealed that the burden in caring and high expressed emotion in experimental group were significantly lower than that before at the .05 level and after the experiment, the burden in caring and high expressed emotion were significantly lower than those who received regular caring activities at the .05 level.
Keyword : Family group Psychoeducation, Caregiving Burden, High Expressed Emotion
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย