รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทในสังคมเมือง

Main Article Content

กาญจนา เหมะรัต
กาญจนา สุทธิเนียม
ชลพร กองคำ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมพลังอำนาจการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทในสังคมเมือง2) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการสร้างเสริมพลังอำนาจการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทในสังคมเมืองในด้านบริหารจัดการ ประกอบด้วย ความพึงพอใจของพยาบาลศูนย์บริการสาธารณสุข 48 อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้ป่วยจิตเภทที่มีต่อรูปแบบการสร้างเสริมพลังอำนาจการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทในสังคมเมืองและประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบการสร้างเสริมพลังอำนาจการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทในสังคมเมือง ประกอบด้วย คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทภายหลังเข้าร่วมในรูปแบบการสร้างเสริมพลังอำนาจการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทในสังคมเมืองและพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังเข้าร่วมในรูปแบบการสร้างเสริมพลังอำนาจการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทในสังคมเมืองโดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบมีส่วนร่วมกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพยาบาลศูนย์บริการสาธารณสุข 48 จำนวน 1 คน อาสาสมัครสาธารณสุข 12 คน ผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 6 คนได้จากเลือกแบบเจาะจง (Purposive Area)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสังเกต การสัมภาษณ์กลุ่ม (focus group) แบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภท โดยเครื่องมือทุกชุดผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และตรวจสอบค่าความเที่ยงของเครื่องมือในการวิจัย (แบบวัดคุณภาพชีวิต =0.872, แบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภท =.084) สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และt- test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. รูปแบบการสร้างเสริมพลังอำนาจการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทในสังคมเมือง จากการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) ประกอบด้วย 3องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการบริหารจัดการ องค์ประกอบที่ 2 ด้านกระบวนการองค์ประกอบที่ 3 ด้านการประเมินผลลัพธ์

2. ผลของรูปแบบการสร้างเสริมพลังอำนาจการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทในสังคมเมืองดังนี้

2.1 ด้านการบริหารจัด พบว่า พบว่าค่าเฉลี่ยความพึงพอใจรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทในสังคมเมืองของพยาบาลศูนย์บริการสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ป่วยจิตเภทโดยรวมของพยาบาลศูนย์บริการสาธารณสุข มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ส่วนอาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ป่วยจิตเภทมีความพึงพอใจในระดับมาก

2.2 คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทในสังคมเมือง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.3 ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทในสังคมเมือง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : รูปแบบการสร้างเสริมพลังอำนาจการพยาบาล, ผู้ป่วยจิตเภท, สังคมเมือง

 

Abstract

This participatory action research is aimed to study a model of empowerment on schizophrenic nursing in urban society to study the effective of model composite about satisfaction for management, Quality of Life Questionnaire (QOL) and the daily function abilities of schizophrenic patients. The study subjects were in purposive area on Health Service Center 48, Bangkok. The subjects were divided into 3 groups. The first group was a nurse on Health Service center 48. The second group consisted of 12 health volunteers. The third group was 6 schizophrenic patients. The instruments used in the study were in-depth interview, observation, focus group, QOL and the daily function abilities of schizophrenic patient’s questionnaire. All instruments were tested for content validity and reliability. (QOL = .872, DFA = .84). Data were collected and were analyzed to obtain frequency, mean, standard deviation and t-test.

The major finding was as follows:

1. A model of empowerment on schizophrenic nursing in urban society were composed of 3 configuration the first configuration were strength management with empowerment, the second were process of a model of empowerment and the third were staff : volunteer.

2. The effectiveness of model composed of

2.1 The total mean score of satisfaction for management in a model of empowerment on schizophrenic nursing in urban society were high.

2.2 The QOL of schizophrenic patients after participating in a model of empowerment on schizophrenic nursing in urban society was significantly higher than before, at .05 level.

2.3 The daily function abilities of schizophrenic patients after participating in a model of empowerment on schizophrenic nursing in urban society was higher significantly at .05 levels.

Keyword : a model of empowerment, urban society, schizophrenia

Article Details

บท
บทความวิจัย