ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาระในการดูแล กับสุขภาพจิต ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท

Main Article Content

อุษา แก้วอำภา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ภาระในการดูแล และสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท 2) ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ภาระในการดูแลกับสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้ป่วยจำนวน 115 คน ที่ได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์ เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามภาระในการดูแลของผู้ดูแลของนพรัตน์ ไชยชำนิ (2544) ซึ่งแปลและดัดแปลง มาจากแนวคิดของ Montgomery et al.(1985) มีค่าความเชื่อมั่น .93 แบบวัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสมบูรณ์ 55 ข้อ (อภิชัย มงคล และคณะ 2550) มีค่าความเชื่อมั่น .92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า

1. ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง(ร้อยละ 72.2) มีอายุในช่วง 51-60 ปี (ร้อยละ37.39) มีภาระในการดูแลโดยรวมอยู่ในระดับน้อย( \inline \bar{X}= 2.37 S.D. = .66)

2. ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท มีสุขภาพจิตเท่ากับนทั่วไป (\inline \bar{X} = 158, S.D. = 15.49) จำแนกเป็นผู้ดูแลกลุ่มที่มีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป มีจำนวนมากที่สุด (ร้อยละ 50.43) รองลงมาคือกลุ่มที่มีสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป (ร้อยละ 41.74) ส่วนกลุ่มที่มีสุขภาพจิตสูงกว่าคนทั่วไปมีจำนวนน้อยที่สุด (ร้อยละ 7.83)

3. เพศมีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05(2 = 6.796, p =.029)

4. อายุมีความสัมพันธ์ทางลบ กับสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (r = -.314)

5. ภาระในการดูแลมีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลาง กับสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.484)

คำสำคัญ : ผู้ดูแล, ผู้ป่วย, โรคจิตเภท, ภาระในการดูแลสุขภาพจิต

 

Abstract

The purpose of this descriptive research were: 1) To explore personal factors of sex and age, burden, mental health in caregivers of patients with schizophrenia, and 2) To examine the relationships between personal factors, burden, and mental health in caregivers of patients with schizophrenia. A purposive sample of 115 caregivers of patients with schizophrenia was recruited from the outpatient department. Three questionnaires included personal information, the burden questionnaires, and Thai Mental Health Indicator version 2007 (TMHI-version 2007). The Chronbach’s alpha coefficient reliability of the last two questionnaires were .93 and .92 respectively. Data were analyzed by descriptive statistics, Chi-square and Pearson’s product moment correlation coefficient. Major findings were as follows:

1. Most caregivers of patients with schizophrenia were female (72.2%), age ranged 51-60 years old (37.39%), which burden scores were at the mild level. (\inline \bar{X} = 2.37 S.D. = .66)

2. The scores of caregivers’ mental health were average ( \inline \bar{X}= 158 S.D. = 15.49). 50.4% of caregivers had lower mental health scores than average, 41.74% of caregivers had average scores, and 7.83% of caregivers had higher scores than average.

3. Sex of the caregivers was significantly related to mental health. ( X2= 6.796, p =.029)

4. Age was negative significantly related to mental health in caregivers of patients with schizophrenia (r = -.314, p < .05)

5. Burden was moderate negative significantly related to mental health in caregivers of patients with schizophrenia (r = -.484, p < .05)

Keywords : caregivers, patients, schizophrenia, burden, mental health

Article Details

บท
บทความวิจัย