ความเข้มแข็งอดทนด้านจิตใจกับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเข้มแข็งอดทนด้านจิตใจและพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 88 คน โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 ส่วน ประกอบด้วยส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแล และของผู้ป่วยส่วนที่ 2 แบบสอบถามความเข้มแข็งอดทนด้านจิตใจส่วนที่ 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแล ซึ่งแบบสอบถามส่วนที่ 2 ใช้แบบสอบถาม ความเข้มแข็งอดทนของผกาพันธ์ วุฒิลักษณ์และ อุบล นิวัติชัย, 2541 ผู้วิจัยนำมาทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .93 และแบบสอบถามส่วนที่ 3 เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามกรอบแนวคิดของ ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ (Tungpunkam, P. 2000) ผู้วิจัยนำมาทดสอบหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเข้มแข็งอดทนด้านจิตใจ โดยรวมอยู่ในระดับสูง (M = 1.79, SD = 0.19) จำแนกรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับสูงทุกด้าน คือ ด้านความรู้สึกท้าทายมีค่าคะแนนสูงสุด (M = 2.01, SD = 0.34)รองลงมา คือ ด้านการมีอำนาจควบคุม (M = 1.83, SD = 0.17) และด้านความมุ่งมั่น (M = 1.51, SD = 0.28) ตามลำดับ และพบว่าพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท โดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 2.44, SD = 0.24) จำแนกรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านอาการที่เกิดจากภาวะโรค มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (M = 2.56, SD = 0.30) รองลงมา คือ ด้านการบริหารยา (M=253, SD=0.33) และด้านการดำเนินชีวิตตามปกติ (M = 2.30, SD = 0.35) ตามลำดับ พบว่าความเข้มแข็งอดทนด้านจิตใจด้านความมีอำนาจควบคุมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลโดยรวมของผู้ดูแลด้านการดำเนินชีวิตตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.24,p<.05) ความเข้มแข็งอดทนด้านความมุ่งมั่นมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมด้านการบริหารยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.26,p<.05)) และ ความเข้มแข็งอดทนด้านจิตใจโดยรวมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลโดยรวมของผู้ดูแล (r = 0.10, p< .05) สามารถอธิบายได้ว่า แม้ว่าผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทจะมีความเข้มแข็งอดทนด้านจิตใจในระดับสูงทั้ง 3 ด้านก็มิอาจทำนายได้ว่าพฤติกรรมการดูแลจะต้องสัมพันธ์ทางบวกเสมอไปทั้งนี้อาจเนื่องจากพฤติกรรมของผู้ป่วยจิตเภทเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ อาจทำให้ผู้ดูแลเกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ ดังนั้นพยาบาลควรเสริมสร้างให้ผู้ดูแลมีความเข้มแข็งอดทนด้านจิตใจอย่างสม่ำเสมอ
ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับพยาบาลในการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งอดทนด้านจิตใจของผู้ดูแลและพฤติกรรมการดูแล ต่อไป
คำสำคัญ : ความเข้มแข็งอดทนด้านจิตใจ, พฤติกรรมการดูแล, ผู้ดูแล, ผู้ป่วยจิตเภท
Abstract
Abstract The objective of this study was to study the degree of psychological hardiness, and caring behaviors of schizophrenia patients’ caregiver. Subjects were 88 caregivers, selected purposively. The instrument used in data collection had three parts: 1) general data of caregivers and patients 2) caregivers’ psychological hardiness based on Pakapan Woottiluk and Ubol Niwatchia (1998), and 3) caregivers’ caring behaviors developed by the researcher. The internal consistency of part 2 was assessed using Cronbach’s alpha coefficient, yielding a value of .93. Part 3 was verified by three experts and tested for internal consistency, giving an alpha value of .79. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and Pearson product moment correlation coefficient.
The results showed that caregivers’ overall psychological hardiness was at a high level (M = 1.79, SD = 0.19). All components of hardiness were also at a high level. The mean score for the challenge component was the highest (M = 2.01, SD = 0.34), followed by those for control (M = 1.83, SD = 0.17) and commitment (M = 1.51, SD = 0.28). The overall score of caring behaviors was at a high level (M = 2.44, SD = 0.24). All components of the scale were also at a high level. The highest mean score was that for caring for symptoms (M = 2.56, SD = 0.30), followed by those for medication administration (M = 2.53, SD = 0.33) and daily living (M = 2.30, SD = 0.35). There was no significantly association between overall psychological hardiness and overall caring behaviors (r = 0.10, p > .05).
The results of this study could be used as a guideline for nurses to develop a model to promote psychological hardiness and caring behaviors of schizophrenia patients’ caregivers.
Key words : Psychological Hardiness, Caring Behaviors, Caregiver, Schizophrenia Patient
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย