ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะทุพลภาพของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ

Main Article Content

นภา จิรัฐจินตนา
รังสิมันต์ สุนทรไชยา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ภาวะทุพพลภาพของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุทำให้เกิดความทุกข์ทรมานและความรุนแรงของภาวะ ซึมเศร้า การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะทุพพลภาพ ศึกษาความสัมพันธ์และปัจจัยที่ สามารถร่วมพยากรณ์ ระหว่าง เพศ อายุ การเจ็บป่วยเรื้อรัง ความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า และการ สนับสนุนทางสังคมกับภาวะทุพพลภาพของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า วัยสูงอายุแผนกผู้ป่วยนอก สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ และ โรงพยาบาลศรีธัญญา จำนวน 144 ราย เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและ การเจ็บป่วยเรื้อรัง 2) แบบวัดความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า 3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และ 4) แบบวัดภาวะทุพพลภาพในผู้สูงอายุ ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงของแบบวัดที่ 3 และ 4 เท่ากับ .91 และ .93 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงของแบบวัดที่ 2, 3 และ 4 เท่ากับ .83 .87 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ เชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน สถิติพอยร์ไบซีเรียล และวิเคราะห์ถดถอยพหูคูณแบบมีขั้นตอน

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุมีภาวะทุพพลภาพเล็กน้อย (\inline \bar{X}= 46.35 ±SD = 13.9) อายุ ความรุนแรงของภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะทุพพลภาพอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ.01 (r = .275 และ r =.395 ตามลำดับ) และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับ ภาวะทุพพลภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.478) โดยปัจจัยการสนับสนุนทางสังคม อายุ และความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าสามารถร่วมพยากรณ์ ภาวะทุพพลภาพของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ ได้ร้อยละ 34.0 (R2.34) ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ คือ การวางแผนการพยาบาลในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการ สนับสนุนทางสังคมที่เหมาะสมกับอายุและความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ

คำสำคัญ : โรคซึมเศร้า, ภาวะทุพพลภาพ, ผู้สูงอายุ, การสนับสนุนทางสังคม

 

Abstract

Disability to depressive led to suffering and severity of depression. The purpose of this study was to assess disability and to examine relationships and predicting factors among age, gender , chronic illness, severity of depression, social support and disability of older persons with major depressive disorder. A convenience sample of 144 older persons with depressive disorder was recruited from outpatient clinic at Somdet Chaophaya Institute Psychiatry, Galya Rajanagarindra Institute and Srithanya hospital. The instruments were the personal questionnaire, Thai Hamilton Rating Scale for Depression (Thai-HRSD), The personal resource questionnaire: Part II (Thai-PRQ part II) and Late- Life Disability Instrument (Thai-LLDI). The content validity index of Thai-PRQ part II and Thai-LLDI was .91 and .93 respectively and the Cronbach’s alpha reliability of Thai-HRSD, Thai-PRQ part II and Thai-LLDI was .83 .87 and .89 respectively. Data were analyzed by descriptive statistics, Pearson’s Product Moment Correlation, Point Biserial Correlation and Stepwise Multiple Regression.

The results revealed that participants had the mild level of disability (\inline \bar{X} =46.35 ±SD = 13.9). Age, severity of depression were positively significant correlation with disability (r = .275, r = .395, p< .01 respectively). Social support was negatively significant correlation with disability (r = -.478, p<.01). Social support, age and severity of depression were 34.0 % explained (R2 = .34) of variances of disability among older persons major depressive disorder.

Findings suggested that providing appropriate social support with specific age and severity of depression in nursing care plan.

Keywords : Major depressive disorder, disability, elderly, ocial support

Article Details

บท
บทความวิจัย