ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนมุมมองที่เน้นการหาทางออกสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ได้รับยาต้านอาการทางจิต

Main Article Content

ศรีวิไล โมกขาว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ที่ศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนมุมมองที่เน้นการหาทางออกสำหรับผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับยาต้านอาการทางจิต กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยจิตเภทที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชลบุรี มีอาการทางจิตทุเลา ได้รับการจำหน่ายกลับไปอยู่ที่บ้าน และ มีประวัติขาดยา จำนวน 14 ราย เข้าร่วมโปรแกรมการปรับเปลี่ยนมุมมองที่เน้นการหาทางออก เป็นเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบวัดความเชื่อมั่นในการดูแลตนเองให้รับประทานยาต้านอาการทางจิต แบบประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน และโปรแกรมการปรับเปลี่ยนมุมมองที่เน้นการหาทางออก ดำเนินการทดลองโดยนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี ที่ผ่านการเรียนรู้ทางทฤษฎี ฝึกการใช้โปรแกรมโดยผู้วิจัย และอยู่ในความควบคุมของผู้วิจัยตลอดระยะเวลาของการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที มีผลการวิจัยดังนี้

คะแนนความเชื่อมั่นในการดูแลตนเองให้รับประทานยาต้านอาการทางจิต หลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และคะแนนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05)

จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการปรับเปลี่ยนมุมมองที่เน้นการหาทางออกสามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรคจิตเภทมีการรับรู้ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง เกี่ยวกับการรักษาและการดำเนินชีวิต สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น นักศึกษาพยาบาลสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท ส่งผลให้ผู้ป่วยจิตเภทกลับมารักษาซ้าในโรงพยาบาลลดลง

คำสำคัญ : โปรแกรมการปรับเปลี่ยนมุมมองที่เน้นการหาทางออก, ผู้ป่วยโรคจิตเภท, ยาต้านอาการทางจิต

 

Abstract

The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effectiveness of Solution-Focused Reframing Program (SFRP) for schizophrenic patients taking antipsychotic medications. The participants were 14 schizophrenic patients who had been admitted in Chonburi hospital and discharged but had a history of non compliance treatment. The program was five sessions of 1-1.5 hours and performed once a week. Measures used composed of two measures and one program, including a self- care confidence in taking antipsychotics questionnaire, schizophrenic patient’s competency in performing daily activities measure, and the SFRP. The SFRP was conducted by 3rd year nursing students in bachelor of nursing science program who were trained by the researcher. Data were analyzed using descriptive statistics, one way analysis of variance and dependent sample t- test.

Major findings were as follow: The participants reported significant higher scores of self-care confidence in taking antipsychotics after receiving the SFRP than the score before receiving the program (P< .05) and The participants also reported higher scores of competency in performing daily activities after receiving the SFRP than the score before receiving the program (P< .05)

The results showed that the SFRP enhance a congruence of patient’s perception and their experience about taking medications and performing daily activities. The patients could live normally with their highest competency. Nursing students should be trained to be able to apply SFRP for their Schizophrenic patients. The Schizophrenic patients would then be complied with their treatment, resulting in decreasing relapse.

Key Words : Solution-Focused Reframing Program, Schizophrenic Patients, Antipsychotic medication

Article Details

บท
บทความวิจัย