การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ใช้สารเสพติดร่วม ในโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนว ปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ ใช้สารเสพติดร่วม ในโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ สร้างขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าตำราและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในการ สอนหรือการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช โดยเฉพาะ การดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สารเสพติด จำนวน 14 คน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย วิเคราะห์ความสอดคล้อง ของความคิดเห็น ด้วยค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าการกระจายควอไทล์ ซึ่งผู้วิจัยใช้ค่ามัธยฐาน มากกว่า 3.50 ค่าฐานนิยมที่ระดับมากถึงมากที่สุด (4.00-5.00) และค่าการกระจายควอไทล์น้อยกว่า 1.50 เป็นเกณฑ์ในการยอมรับข้อความของแนว ปฏิบัติ ผลการวิจัยได้แนวปฏิบัติการพยาบาลใน การดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ใช้สารเสพติด ประกอบ ด้วย 4 ประเด็น คือ (1) คำนิยาม และโครงสร้าง ของแนวปฏิบัติ (2) การประเมินปัญหาผู้ป่วยระยะ เริ่มแรก ระยะกลาง และระยะก่อนกลับบ้าน (3) กิจกรรมการพยาบาลระยะเริ่มแรก ระยะกลาง และ ระยะก่อนกลับบ้าน และ (4) ผลลัพธ์ในการดูแล ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ใช้สารเสพติดร่วมระยะเริ่มแรก ระยะกลาง และระยะก่อนกลับบ้าน
แนวปฏิบัติดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ใช้ สารเสพติดร่วมฉบับนี้ ควรนำไปทดลองใช้ใน หน่วยงานของโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ เพื่อ การปรับปรุงแก้ไขให้แนวปฏิบัติมีความสมบูรณ์ ยิ่งขึ้น และสามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท ที่ใช้สารเสพติดร่วมให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพ ยิ่งขึ้น
คำสำคัญ : แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผู้ป่วยโรค, จิตเภทที่ใช้สารเสพติดร่วม
Abstract
This research aimed to develop the clinical nursing practice guideline (CNPG) in caring for schizophrenia patients with substance dependence at Saunsaranrom Hospital. This CNPG was developed from literature reviews. The content validity was examined by 14 experts experienced in teaching or in caring for schizophrenia patients with substance dependence, using a 3-round Delphi technique. The consensus of contents was analyzed by median, mode and quartile deviation. The researcher considered a median of more than 3.50, a mode ranging from very often to most of the time (4.00-5.00), and a quartile deviation of less than 1.50 as criteria for qualification of the CNPG. Results of this research revealed 4 components of CNPG: definition and structure of CNPG, assessment of patients’ problems including initial, interim and pre-discharge phases, nursing intervention covering all 3 phases, and outcome of caring in those three phases.
This CNPG should be tested for feasibility before using it as a tool for quality improvement in caring for schizophrenia patients with substance dependence.
Keywords : Clinical Nursing Practice Guideline, Schizophrenia Patients with Substance Depen dence
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย