ผลการปรับความคิดและช่วยเหลือทางโทรศัพท์ต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่มารับบริการแบบผู้ป่วยนอก: รายงานผู้ป่วย 2 ราย

Main Article Content

อุ่นจิตร คุณารักษ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้นและเป็นโรคที่ก่อให้เกิดการสูญเสีย เนื่องจากภาวะบกพร่องทางสุขภาพ (Years of Life Lost due to Disability-YLDs) ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าหากรักษาไม่ต่อเนื่องมีโอกาสป่วยซ้ำและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง การศึกษานี้เป็นการติดตามผู้ป่วย 2 ราย ที่ได้รับคำแนะนำในการปรับความคิดและช่วยเหลือทางโทรศัพท์ 10 ครั้ง และติดตามด้วย แบบประเมินภาวะซึมเศร้าฉบับภาษาไทย (Thai Depression Inventory) 1, 3 และ 6 เดือน ผลการศึกษา ผู้ป่วยรายที่ 1 มีภาวะซึมเศร้าปานกลาง(28 คะแนน) เมื่อฝึกปรับความคิดและช่วยเหลือ ทางโทรศัพท์ พบว่าในเดือนที่ 1, 3 และ 6 ไม่มี ภาวะซึมเศร้าและระดับคะแนนลดลง (9, 7, 5 คะแนน) ประกอบอาชีพได้ดังเดิมในเดือนที่ 1 รับประทานยาต่อเนื่องและมาพบแพทย์ตรงนัด ทุกครั้ง ผู้ป่วยรายที่ 2 มีภาวะซึมเศร้าปานกลาง (32 คะแนน) เมื่อฝึกปรับความคิดและช่วยเหลือ ทางโทรศัพท์ สามารถปรับตัวในการทำกิจวัตรใน สัปดาห์ที่ 2 และสัปดาห์ที่ 3 สามารถตื่นเช้าไป ทำงานได้ตามปกติ แต่ยังมีอาการเบื่ออาหาร หลับยาก สัปดาห์ที่ 4 สามารถตื่นเช้าไปทำงาน ได้ตามปกติ รับประทานอาหารได้เหมือนเดิม และหลับได้ดีขึ้น รับประทานยาต่อเนื่องและมาพบแพทย์ตรงนัดทุกครั้ง ในเดือนที่ 1, 3 และ 6 พบว่าไม่มีภาวะซึมเศร้า (17, 19, 15 คะแนน) ผล จากการศึกษาเป็นแนวทางในการช่วยเหลือผู้ที่มี ภาวะซึมเศร้าที่มารับบริการแบบผู้ป่วยนอก

คำสำคัญ : โรคซึมเศร้า, การปรับความคิด, การช่วยเหลือทางโทรศัพท์, ผู้ป่วยนอก

Article Details

บท
บทความวิจัย