ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว

Main Article Content

โศรดา สุรเทวมิตร
รังสิมันต์ สุนทรไชยา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำหน้าที่และความ สัมพันธ์ระหว่างเพศ อายุ ที่เริ่มแสดงอาการ ระยะเวลาการนอนหลับ ความบกพร่องในการรู้คิด การสนับสนุนทางสังคมต่อการทำหน้าที่ของ ผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วที่เป็น ผู้ป่วยนอกมารับการรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวช เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 132 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึก ข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบสภาพสมองเสื่อม เบื้องต้นฉบับภาษาไทย แบบสอบถามการ สนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการทำ หน้าที่ ซึ่งแบบทดสอบและแบบสอบถามมีค่า ความเที่ยงเท่ากับ .94, .95 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคส- แควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว มีการทำหน้าที่ระดับบกพร่อง ร้อยละ 60.61

2. เพศไม่มีความสัมพันธ์กับการทำหน้าที่ ของผู้ป่วย

3. อายุที่เริ่มแสดงอาการ ระยะเวลาการ นอนหลับ ความบกพร่องในการรู้คิด และการ สนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ การทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวน สองขั้วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : การทำหน้าที่, โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว, อายุที่เริ่มแสดงอาการ, ระยะเวลาการนอนหลับ, ความบกพร่องในการรู้คิด, การสนับสนุนทางสังคม

 

Abstract

The purpose of this descriptive research was to examine functioning, and the relationships between gender, age of onset, sleep duration, cognitive impairment, social support and functioning of patients with bipolar disorder. Subjects were 132 outpatients with bipolar disorder at the psychiatric hospitals, Bangkok and vicinity. The research instruments were the Personal Data Record, the Mini-Mental State Examination Thai version, the Social Support and the Functioning Assessment Short Test. The reliability of the test and Questionniares were .94, .95 และ .95 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, Chi-Square and Pearson’s product moment correlation.

Major findings were as follow:

1. The percentages of bipolar patients who had impaired functioning were 60.61.

2. Gender was not significantly correlated with patients’ functioning.

3. Age of onset, sleep duration, cognitive impairmrnt, and social support were significant positive correlations with the functioning of patients with bipolar disorder at the level of .05.

Keywords : Functioning, Bipolar, Age of onset, Sleep Duration, Cognitive Impairment, Social Support

Article Details

บท
บทความวิจัย