การประเมินผลการดำเนินงาน ศูนย์พึ่งได้ (One Stop Crisis Center) โรงพยาบาลปทุมธานี

Main Article Content

พรทิพย์ คนึงบุตร
ดรุณี ชุณหะวัต
พัชรินทร์ นินทจันทร์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน ผลการดำเนินงานศูนย์พึ่งได้ของโรงพยาบาล ปทุมธานี โดยใช้แบบจำลอง CIPP ของ Stufflebeam (1971, 2000) เป็นกรอบในการประเมิน โดยประเมินปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลลัพธ์ของโครงการ เก็บรวบรวมข้อมูลจาก คณะกรรมการดำเนินงานศูนย์พึ่งได้ โดยการ สนทนากลุ่มและสัมภาษณ์รายบุคคล รวมถึง ข้อมูลเอกสารและคู่มือต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนิน งานของศูนย์พึ่งได้

ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โรงพยาบาลมีข้อจำกัดเรื่อง สถานที่ แต่ได้มีการ ประยุกต์ใช้สถานที่ได้เหมาะสม ในประเด็น บุคลากรมีการจัดตั้งคณะกรรมการได้ครอบคลุม ทุกวิชาชีพ ในส่วนของงบประมาณ ได้รับการทุน สนับสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ ด้านกระบวนการ ดำเนินงานศูนย์พึ่งได้พบว่า มีการประสานทีม สหวิชาชีพเพื่อให้การช่วยเหลืออย่างครบวงจร มีการพัฒนาบุคลากรและดำเนินงานเชิงรุกอย่าง ต่อเนื่อง ส่วนด้านผลการดำเนินงานพบว่า มีผู้รับ บริการจำนวนมากขึ้น บุคลากรมีความตระหนัก ในการค้นหาผู้ถูกกระทำรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โรงพยาบาลได้รับการยอมรับให้เป็นแบบอย่าง ที่ดีในการให้บริการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ ถูกระทำรุนแรง

ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ในการ ปรับปรุงการบริการของศูนย์พึ่งได้ ให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : ศูนย์พึ่งได้, โรงพยาบาลปทุมธานี, การประเมินผล

 

Abstract

The present study aimed to evaluate the implementation of the One Stop Crisis Center (OSCC) of PathumThani Hospital. The CIPP model of Stufflebeam (1971, 2000) was used as a framework in the evaluation. The input factors, the implementation process, and the operational outcomes were assessed as well as problems and obstacles in the implementation. Data were collected from the operational committee of the One Stop Crisis Center of Pathum Thani Hospital by means of focus group discussions and individual interviews. In addition, documents, manuals, and handouts used in the operation of the center were also analyzed.

An evaluation of the input factors revealed that even though there were some linitations in the area of the center at the hospital the most appropriate venue for the center was found. As for personnel, a committee was set up with internal and external members from multidisciplinary.As regards budget, the center received funding from various organizations.

With regard to the implementation process of the center, the study findings revealed that the tasks of the center was applied and integrated into the routine operations of the hospital. A coordination of the multidisciplinary team was also in place to provide full-fledged services. Regarding operational outcomes, it was found that more abused children and women sought services from the center, the staff of the center had more awareness and became more cooperative to seek for abused victims, and the hospital was accepted as a role model of providers of services to abused children and women.

The findings of the present study could be implemented to more effectively provide services of OSCC.

Keywords : One Stop Crisis Center, Pathumthani Hospital, Evaluation

Article Details

บท
บทความวิจัย