ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

Main Article Content

ภานุชนาถ พูสี
โสภิณ แสงอ่อน
พัชรินทร์ นินทจันทร์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การศึกษาแบบบรรยายความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ  เพศ สถานภาพสมรส ภาวะซึมเศร้า ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และสมรรถภาพทางสมองกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม


วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบบรรยายความสัมพันธ์ครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมที่เข้ารับการตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก  สถาบันประสาทวิทยา จำนวน 163 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม จำนวน 5 ชุด ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป  แบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพื้นฐานดัชนีบาร์เทลฉบับภาษาไทย  แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย  และแบบวัดซึมเศร้าในผู้สูงอายุฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และสถิติไคสแควร์


ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า อายุ และภาวะซึมเศร้า มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.236, p < .01; r = -.836, p < .001 ตามลำดับ) ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และสมรรถภาพทางสมองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .455, p < .001;  r = .562, p < .001 ตามลำดับ) ส่วนสถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2= 14.895, p < .01) และเพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต (p >.05) ผลการศึกษาครั้งนี้ให้ข้อมูลที่สำคัญในการนำไปวางแผนเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL – BREF - THAI). ในโครงการจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ ปี พ.ศ. 2545 (1-8). นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

นงนุช แย้มวงษ์. (2557). คุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 21(1), 37-44.

นิพนธ์ พวงวรินทร์. (2537). แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย. สารศิริราช, 46(1), 1-9.

ปุญญพัฒณ์ ไชยาเมล์, บุญเรือง ขาวนวล, และพลภัทร ทรงศิริ. (2555). คุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ ตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 42(1), 55-65.

ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2555). แนวคิดการพยาบาลผู้สูงอายุ. ใน การพยาบาลปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ: การนำไปใช้ (4 – 23). ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มุทิตา วรรณชาติ, สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมื่นแสวงทรัพย์, และพิมพ์สุรางค์ เตชะบุญ เสริมศักดิ์. (2558). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, ฉบับพิเศษ(1), 18-29.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2559). พจนานุกรม. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2559, จาก https://dictionary.sanoo.com

วิไลพร ขำวงษ์, จตุพร หนูสวัสดิ์, วรารัตน์ ประทานวรปัญญา และจิดาภา ศิริปัญญา. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(2), 32 – 40.

วิไลววรณ ทองเจริญ. (2554). ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. ใน วิไลววรณ ทองเจริญ (บรรณาธิการ), การพยาบาลผู้สูงอายุ (66 – 76). กรุงเทพฯ: โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศศิชา จันทร์วรวิทย์. (2561). ผู้สูงอายุกับภาวะสมองเสื่อม. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2561, จากhttps://www.pt.mahidol.ac.th/knowledge/?p=614

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. (2542). แบบทดสอบสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย MMSE-Thai 2002. ใน แบบทดสอบผู้สูงอายุ (1-9). นนทบุรี: สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย. (2556). สาระน่ารู้ ความชุกของโรคสมองเสื่อม. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2559, จาก https://www.azthai.org/articles/a02.html

สุทธิชัย จิตตะพันธ์กุล. (2542). การวิเคราะห์ผู้สูงอายุ. ใน สุทธิชัย จิตตะพันธ์กุล (บรรณาธิการ), หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ (85 – 86). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว. (2554). ความผิดปกติจากความเสื่อมด้านเชาวน์ปัญญา. ใน การพยาบาลจิตเวช ( 219 - 231). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ และราณี พรมานะจิรังกุล. (2540). เปรียบเทียบตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของ WHO 100 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ. (2558). ภาวะสมองเสื่อม พบในผู้สูงอายุมากสุด. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2559, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/27952.html

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานผลเบื้องต้น การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

Bicket, M. C., Samus, Q. M., McNabney, M., Onyike, C. U., Mayer, L. S., Brandt, J., et al. (2010). The physical environment influences neuropsychiatric symptoms and other outcomes in assisted living residents. International Journal of Geriatric Psychiatry, 25(1), 1044–1054.

Dourado, M. C., Sousa, M. F., Santos, R. L., Simo˜es Neto, J. P., Nogueira, M. L., Belfort, T. T., et al. (2015). Quality of life in mild dementia: Patterns of change in self and caregiver ratings over time. Revista Brasileira de Psiquiatria, 38(4), 1-7.

Folstein, M. F., Folstein, S. E., & McHugh, P. R. (1975). “Mini-Mental state” a practical method for grading the cognitive state of patients for the clinician. Journal of Psychiatric Research, 12(3), 189–198.

Graske, J., Fischer, T., Kuhlmey, A., & Ostermann, K. W. (2012). Quality of life in dementia care – differences in quality of life measurements performed by residents with dementia and by nursing staff. Aging & Mental Health, 16(7), 819–827.

Hoe, J. G., Hancock, G. L., & Orrell, M. (2006). Quality of life of people with dementia in residential care homes. British Journal of Psychiatry, 188(5), 460-464.

Hurt, C., Bhattacharyya, S., Burns, A., Camus, V., Liperoti, R., Marriott, A., et al. (2008). Patient and caregiver perspectives of quality of life in dementia. Dementia and Geriatric Cognitive Disorders, 26, 138–146.

Li , X. J., Suishu, C., Hattori, S., Liang, H. D., Gao, H., Feng, C. Q., et al. (2012). The comparison of dementia patient’s quality of life and influencing factors in two cities. Journal of Clinical Nursing, 22, 2132–2140.

Mahoney, F. I., & Barthel, D. (1965). Functional evaluation: The Barthel Index. Maryland State Medical Journal, 14, 56-61.

Missotten, P., Ylieff, M., Notte, D. D., Paquay, L., Lepeleire, J. D., Buntinx, F., et al. (2007). Quality of life in dementia: A 2-year follow-up study. International Journal of Geriatric Psychiatry, 22, 1201–1207.

Moyle, W. & Dwyer, S. (2012). Quality of life in people living with dementia in nursing homes. Wolters Kluwer Health, 1(25), 1-5.

Sala, J. L. C., Olmo, J. G., Garriga, O. T., Pousa, S. L., & Franch, J. V. (2009). Factors related to perceived quality of life in patients with alzheimer’s disease: The patient’s perception compared with that of caregivers. International Journal of Geriatric Psychiatry, 24, 585–594.

Sheehan, B. (2012). Patient and proxy measurement of quality of life among general hospital in-patients with dementia. Aging & Mental Health, 16(5), 603-607.

Venturato, L. (2010). Dignity, dining and dialogue: Reviewing the literature on quality of life for people with dementia. International Journal of Older People Nursing, 5(3), 228–234.

Wetzels, R. B., Zuidema, S. U., Jonghe, J. F. M., Verhey, F. R. J., & Koopmans, R. T. C. M. (2010). Determinants of quality of life in nursing home residents with dementia. Dementia and Geriatric Cognitive Disorders, 29(3), 189–197.

Wongpakaran, N., Wongpakaran, T., & Reekum, R. V. (2013). The use of GDS-15 in detecting MDD: A comparison between residents in a Thai long-term care home and geriatric outpatients. Journal Clinical Medical Research, 5(2), 101-111.

World Health Organization. (2004). Introducing the WHOQOL instruments. Retrieved March 11, 2016, from https://depts.washington.edu

World Health Organization. (2017). Dementia: Number of people affected to triple in next 30 years. Retrieved February 5, 2017, from https://www.who.int

Yesavage, J. A. (1986). The use of rating depression series in the elderly. Retrieved February 5, 2017, from https://geriatrictoolkit.missouri.edu