ผลของการจัดการความโกรธที่เน้นการปรับความคิดต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยจิตเภท
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยจิตเภท ก่อนและหลังได้รับการจัดการความโกรธที่เน้นการปรับความคิด และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการความโกรธที่เน้นการปรับความคิด กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ
วิธีการ: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเพศชายและได้รับการวินิจฉัยตามเกณฑ์ว่าเป็นโรคจิตเภท ที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจิตเวช จับคู่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน จากนั้นสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการจัดการความโกรธที่เน้นการปรับความคิด ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) กิจกรรมการจัดการความโกรธที่เน้นการปรับความคิด 2) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าว ซึ่งเครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 และตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าว โดยใช้คูเดอร์ ริชาร์ดสันมีค่าเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที
ผล: 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับการจัดการความโกรธที่เน้นการปรับความคิด ลดลงกว่าก่อนได้รับการจัดการความโกรธที่เน้นการปรับความคิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มที่ได้รับการจัดการความโกรธที่เน้น การปรับความคิด ลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
กรมสุขภาพจิต.(2559). รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2559 (Annual Report 2016). กรุงเทพฯ: หจก. บางกอกบล๊อก.
กนกวรรณ ลิ้มศรีเจริญ. (2558). โรคจิตเวชและโรคจิตชนิดอื่น. ใน นันทวัช สิทธิรักษ์ และคณะ (บรรณาธิการ). จิตเวช ศิริราช DSM-5. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.
กัญญาวรรณ ระเบียบ. (2555). ผลของโปรแกรมการฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่วมกับการควบคุมความโกรธต่อพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศไนย วงศ์สุวรรณ. (2542). ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมต่อความโกรธของนักเรียนวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิเชฐ อุดมรัตน์ และสรยุทธ วาสิกนานนท์. (2552). ตำราโรคจิตเภท. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.
มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2558). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. (2556). รายงานสถิติประจำปี. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์.
ศุภโชค สิงหกันต์. (2558). พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง. ใน นันทวัช สิทธิรักษ์ และคณะ (บรรณาธิการ). จิตเวช ศิริราช DSM-5. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์
สมภพ เรืองตระกูล.(2554). ตำราจิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
สิรินภา จาติเสถียร. (2547). แบบวัดการแสดงความโกรธ. ในผลการสอนเทคนิคการควบคุมความโกรธต่อการแสดงความโกรธของผู้ป่วยจิตเภทโรงพยาบาลศรีธัญญา. วารสารโรงพยาบาลศรีธัญญา, 8(2), 12-23.
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2554). การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์, ประภา ยุทธไตร, พวงเพชร เกสรสมุทร, และวารีรัตน์ ถาน้อย. (2557). การพยาบาลจิตเวชศาสตร์. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์สายธุรกิจ.
Beck, J. S. (1995). Cognitive Therapy: Basic and Beyond. New York : Guilford Press.
Chan, H. Y., Lu, R. B., Tseng, C. L., & Chou, K. R. (2003). Effectiveness of the anger control program inducing anger expression in patient with schizophrenia. Archives of Psychiatric Nursing, 17(2), 88-95.
Cheung, P., Schweitzer, I., Crowlev, K., & Tuckwell. V. (1997). Aggressive behavior in schizophrenia: role of state versus trait factors. Psychiatry Research, 72, 41-50.
Chou, K. R., Lu, R. B., & Mao, W. C. (2002).Factors relevant to patient assaultive behavior and assault inpatient psychiatric units in Taiwan . Archives of Psychiatric Nursing, 16(4), 187-195.
Glancy, G., & Saini, M. A. (2005). An evidenced-based review of psychological treatments of anger and aggression. Brief Treatment and Crisis Intervention, 5(2), 229-248.
Han, D. H., Park, D. B., Na, C., Baik, S. K., & Young, S. L., (2004). Association of aggressive behavior in Korean male schizophrenic patients with polymorphisms in the serotonin transporter promoter and catecholamine-O-methyltrasfersegenes. Psychiatry research, 129, 29-37.
Hagiliassis, N., Gulbenkoglu, H., Dimarco, M., Young, S., & Hudson, A. (2005).The Anger management project: A group intervention for anger in people with physical and multipledisabilities. Journal of intellectual & Developmental disability, 30(2), 86 - 96.
Jacobson, E. (1962). You Must Relax. New York: Mc Graw-Hill Book.
Jung, H. S., Song, J. Y., & Chung, K. J. (2000). Anger experience and expression in patients with schizophrenia. Journal of the Korean Neurological Psychiatric Association, 39(6), 1045-1053.
Kay, S. R., Wolkenfeld, F., & Murrill. (1998). Profile of aggression among psychiatric inpatient II: Covariates and predictors. The Journal of Nervous and Mental Disease, 176 (7), 547-557.
Lejoyeux, M., Nivoli, F., Basquin, A., Petit, A., Chalvin, F., & Embouazza, H. (2013). An Investigation of factors increasing the risk of aggressive behavior among schizophrenic inpatients. Forensic Psychiatry, 97(4), 1-6.
Martha, L. C. (2000). Understanding and Treating Violence Psychiatric patients. Washington DC: American Psychiatric press.
Monahan, J. (2006). An actuarial model of violence risk assessment for persons with mental disorder. Psychiatric services, 56(7), 810 – 815.
Novaco, R. W. (1975). Anger control: The development and evaluation of an experimental. Lexington, Mass: D.C. Health and company.
Paul, W., Jessica, J., Rachel, T., & Gill, G. (2002). A Randomized controlled trial of the efficacy of a cognitive behavioral anger management group for client with learning disabilities. Journal of Applied Research in Intellectual Disabilities, 15, 224-235.
Polit, D. & Beck, C. T. (2004). Nursing research: Generating and assessing evidence for nursing practice. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
Rossi, A. M., Jacobs, M., Monteleone, M., Olsen, R., Surber, R. W., & Winkler, E. L., et al. (1986). Characteristics of psychiatric patients who engage in assaultive or other Fearing dicing behaviors. The Journal of Nervous and Mental Disease, 174(4), 154-160.
Song, H., & Min, S. K. (2009). Aggressive behavior model in schizophrenia patients. Psychiatry Research, 167(2009), 58-65.
Spielberger, C. D. (1996). Manual for the state-trait anger expression inventory (STAXI). Odessa, FL: Psychological Assessment Resources.
Thomas, S. P. (2001).Teaching healthy anger management. Psychiatric Care, 37(2), 41-48.
Westbrook, D., Kennerly, H., & Kirk, J. (2007). Cognitive Behavior Therapy: Skill and Applications. Los Angles: SAGE Publication.
Yudofsky, S., Silver, J. M., & Jackson, W. (1986). The overt aggressive scale for the objective rating scale of verbal and physical aggression. American Journal of Psychiatry, 143(1), 35-39.