ปัจจัยทีมีผลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

Main Article Content

สาธกา ธาตรีนรานนท์
พรทิพย์ เกยุรานนท์
อารยา ประเสริฐชัย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ศึกษาวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยในบุคลากรจำแนกตามกลุ่มภารกิจ หน่วยงาน และตำแหน่ง และศึกษาปัจจัยทำนายวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสถาบันจิตเวช-ศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาที่ทำงานเกี่ยวข้องกับผู้ป่วย จำนวน 227 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วย วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วย และภาวะสุขภาพทั่วไป โดยมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95, 0.94 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยามีวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบ พบว่า วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยอยู่ในระดับสูงเกือบทุกด้าน ได้แก่ ด้านวัฒนธรรมการรายงาน วัฒนธรรมการเรียนรู้ วัฒนธรรมการเฝ้าระวัง และวัฒนธรรม ความเป็นธรรม ยกเว้นด้านวัฒนธรรมความยืดหยุ่นที่อยู่ในระดับปานกลาง และบุคลากรที่อยู่ในกลุ่มภารกิจ หน่วยงาน และตำแหน่งที่ต่างกันมีวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยไม่แตกต่างกัน โดยปัจจัยทีมงาน ปัจจัยองค์กร ปัจจัยผู้บริหาร และระดับการศึกษา มีผลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถพยากรณ์วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยได้ ร้อยละ 61.1

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า สถาบันฯ ควรสร้างเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยในด้านวัฒนธรรมความยืดหยุ่น โดยพัฒนาระบบการประสานงานเพื่อให้สามารถจัดการกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงควรเพิ่มบทบาทในการสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือหน่วยงานในการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย

 

Abstract

The purposes of this survey research were to assess the patient safety culture in Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry, determine patient safety culture among personnel by working group, section and position and to identify predictive factors that affect patient safety culture in the Institute. The sample consisted of 227 personnel, who worked with patients, selected using the stratified random sampling procedure. The research instrument was a questionnaire containing three parts: factors affecting patient safety culture, patient safety culture, and general health, with the reliability values of 0.95, 0.94 and 0.85, respectively. Percentage, mean, standard deviation, t-test, one way ANOVA and stepwise multiple regression analysis were utilized in the data analysis.

The results revealed that patient safety culture in Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry was at a high level; for all the elements, reporting culture, learning culture, wary culture and just culture were at a high level, while flexible culture was at a medium level. Personnel with different working groups, sections and positions did not have different patient safety culture. The factors that significantly affected patient safety culture, at level of 0.05, were teamwork, organization, administrators and educational level; the four factors could 61.1% predict the patient safety culture.

This study suggested that the Institute should improve patient safety culture in the flexible culture aspect by developing the coordination system so as to quickly and effectively deal with adverse events and the risk management committee should increase its role in supporting and assisting organizational units to solve patient safety problems.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สาธกา ธาตรีนรานนท์, ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

พรทิพย์ เกยุรานนท์, รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อารยา ประเสริฐชัย, อาจารย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช