ผลของโปรแกรมการฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่วมกับการควบคุมความโกรธต่อพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยจิตเภท

Main Article Content

กัญญาวรรณ ระเบียบ
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย
รัตน์ศิริ ทาโต

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่วมกับการควบคุมความโกรธต่อพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีธัญญา จำนวน 40 ราย แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย โดยจับคู่ให้คล้ายกันในด้าน เพศ อายุ และระดับพฤติกรรมก้าวร้าว กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่วมกับการควบคุมความโกรธ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ โปรแกรมการฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่วมกับการควบคุมความโกรธ พัฒนาจากแนวคิดการผ่อนคลายกล้ามเนื้อของ Jacobson (1962) ร่วมกับการใช้แนวคิดการควบคุมความโกรธของ Novaco (1975) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวของ Yuodofsky และคณะ (1986) เครื่องมือกำกับการทดลอง คือ แบบวัดการแสดงความโกรธของ Spielberger (1996) เครื่องมือทุกชนิดผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน มีค่าความตรง = 1 ทดสอบค่าความเที่ยงของแบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวและแบบวัดการแสดงความโกรธ โดยใช้ KR 20 และ Chronbach’s alpha มีค่าเท่ากับ .86 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า

1. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่วมกับการควบคุมความโกรธน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่วมกับการควบคุมความโกรธน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

The purposes of this quasi-experimental research was to examine the effect of muscle relaxation and anger control training program on aggressive behaviors in schizophrenia patients. The samples were 40 schizophrenia patients admitted in Srithunya Hospital, who had aggression history. There were matched by sex, age, and aggression level, then randomly assigned to experimental group and control group, 20 subjects in each group. The experimental group received the muscle relaxation and anger control training program and the control group received conventional nursing care. Data were collected using demographic questionnaire, Aggressive Behavior Assessment of Yuodofsky, Silver, and Jackson, (1986) and Anger Expression of Spielberger (1996). They were tested for validity by a panel of experts with the CVI=1 for all questionnaires. Their KR-20 and Chronbach’s alpha were at .86 and .87, respectively. Data were analyzed using descriptive and t-test statistics.

Major findings were as follow :

1. The mean score of Aggressive behaviors of the experimental group after receiving the muscle relaxation and anger control training program was significantly lower than before receiving the muscle relaxation and anger control training program (p< .05).

2. The mean score of Aggressive behaviors of the experimental group after receiving the muscle relaxation and anger control training program was significantly lower than those of the control group (p< .05).

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กัญญาวรรณ ระเบียบ, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลศรีธัญญา

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รัตน์ศิริ ทาโต, รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย