การพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะอ้วน

Main Article Content

กมลพรรณ วัฒนากร
อาภรณ์ ดีนาน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ปัญหาที่สำคัญของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะอ้วน ได้แก่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้เนื่องจากการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมและขาดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้วิจัยพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการกำกับตนเองในโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะอ้วน โดยรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์นำมาพัฒนารูปแบบโปรแกรม ซึ่งเป็นการสนทนารายบุคคลที่มีการให้คำปรึกษาอย่างสอดคล้องกับความพร้อมของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Stage of change) ของแต่ละบุคคล โปรแกรมที่สร้างขึ้นนี้ใช้เวลาดำเนินกิจกรรม 4 สัปดาห์ๆละ 1 ครั้ง โดยใช้เวลาสนทนาครั้งละ 30-45 นาที ประเมินผลการนำโปรแกรมไปใช้ 1 เดือน พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะอ้วนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและผลลัพธ์ทางด้านร่างกายได้แก่ ดัชนีมวลกาย และระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้น บุคลากรทางสุขภาพสามารถนำโปรแกรมนี้ใช้ในคลินิกได้เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะอ้วนได้รับการดูแลแบบองค์รวมอย่างแท้จริง

Abstract

The major problem of obese diabetics is unable controlling blood sugar levels due to inappropriate eating behaviors and lack of motivation. The researcher applied motivational interviewing and self-regulation concept in the Eating Behavioral Modification Program for obese diabetics. Based on evidence based practice, the researcher established 4 sessions as individual counseling congruent with stage of change which took 30-45 minutes per session every week per month. The findings illustrate that this program was effective to promote behavioral change, body mass index and blood sugar levels. Therefore, health care provider could applied this program for accomplish holistic care for obese diabetics.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กมลพรรณ วัฒนากร, วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

อาภรณ์ ดีนาน, รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา