ผลของโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบหลายช่องทางต่อการลดภาวะซึมเศร้า

ผู้แต่ง

  • ดาราวรรณ ต๊ะปินตา รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุพิศ กุลชัย พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
  • สมบัติ สกุลพรรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กรรณิการ์ ศรีมงคลธาราธร พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
  • สุธาพร บุญยศิวาพงศ์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
  • ผกาทิพย์ สุขจิตร์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, โปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบหลายช่องทาง, Depression, Cognitive Behavior Therapy Multi-Chanel Program

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบหลายช่องทางเพื่อลดภาวะซึมเศร้าของผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า ที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย การคัดกรองผู้ป่วยซึมเศร้าจากการใช้แบบวัด 9 คำถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางใช้ค่าคะแนน 7-18 คะแนน อายุ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 36 คน สุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 18 คน กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบหลายช่องทางซึ่งเป็นการบำบัดรายบุคคลและมีจำนวนการบำบัดรวม 9 ครั้ง โดยจะนัดผู้ป่วยมาพบที่แผนกผู้ป่วยนอก ในครั้งที่ 1, 2, 3, 6 ส่วนครั้งที่ 4 และครั้งที่ 5 เป็นการบำบัดทางโทรศัพท์ ในครั้งที่ 7, 8, 9 เป็นการบำบัดที่บ้านและการประเมินภาวะซึมเศร้า ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับการดูแลตามบริการปกติของโรงพยาบาล กลุ่มทดลองจะได้รับการประเมินภาวะซึมเศร้าทันทีหลังการสิ้นสุดโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรม (ใช้เวลาทั้งสิ้น 6 สัปดาห์) ส่วนในกลุ่มควบคุมจะได้รับการประเมินภาวะซึมเศร้า 6 สัปดาห์หลังจากถูกสุ่มเข้ามาเป็นกลุ่มควบคุม และในระยะติดตามผล 2 สัปดาห์หลังจากนั้น

ผลการศึกษาพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลต่ำกว่าในระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของกลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลต่ำกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล 3) คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของกลุ่มทดลองระยะติดตามผลต่ำกว่ากลุ่มความคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ในระยะหลังการทดลองไม่พบความแตกต่างระหว่างสองกลุ่ม

Abstract

The purpose of this quasi-experimental research was to study effect of Multi-Channel Cognitive Behavior Therapy program for decreasing depression among depressed patients who received care in outpatient department, Srisatchanalai Hospital. 9-Question Depressive Disorder Diagnostic Test (9Q) were used for screening subject. Subjects were 36 depressed patients who have mild to moderate depression (score 7-18) aged 18 or more, randomly assigned to experimental and control group (18 patients each). Experimental group received 9 sessions of cognitive behavior therapy; session 1, 2, 3, 6 took place in clinic, session 4, 5 by telephone, session 7, 8, 9 treatment in home. In control group, they were taken care for depression by usual care of Srisatchanalai Hospital. Evaluation with depression scale after 6 week for post-test and 2 week after that for follow-up was done.

The result revealed that 1) means score of depression among experimental group when compare between post-test and follow-up was lower than pre-test and in follow-up was lower than post-test 2) means score of depression in control group when compare between post-test and follow-up was lower than pre-test but difference between follow-up and post-test was not found 3) means score of depression of experimental group were significantly lower than control group in follow-up but not in post-test.

Author Biographies

ดาราวรรณ ต๊ะปินตา, รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สุพิศ กุลชัย, พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

สมบัติ สกุลพรรณ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กรรณิการ์ ศรีมงคลธาราธร, พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

สุธาพร บุญยศิวาพงศ์, พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

ผกาทิพย์ สุขจิตร์, พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

Downloads