การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดแอมเฟตามีนด้วยคุณธรรม “รักเหนือรัก” (สาราณียธรรม 6) ระดับศีล 5

Main Article Content

อัมพร สีลากุล
วิมาลา เจริญชัย
วิไลรัตน์ สะสมผลสวัสดิ์
ฉวีรักษ์ ลีลา
กนกกาญจน์ วิโรจน์อุไรเรือง
ดารารัตน์ อุ่นศรี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้เพื่อพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดแอมเฟตามีนด้วยคุณธรรม “รักเหนือรัก” (สาราณียธรรม 6) ระดับศีล 5 และประเมินผลการนำรูปแบบฯ ไปใช้ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เสพยาเสพติดแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดแบบผู้ป่วยนอก ที่คลินิกจิตสังคมบำบัด โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ และคลินิกบ้านวิถีพุทธ โรงพยาบาลศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 59 คนรวมทั้งพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ และ โรงพยาบาลศรีเมืองใหม่ จำนวน 5 คน โดยดำเนินการตามแนวทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสุขภาพจิต ของกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละและทดสอบทางสถิติ paired samples t-test

ผลการวิจัย พบว่า ได้คู่มือการบำบัดด้วยคุณธรรม“รักเหนือรัก” ฯ ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น และจากการนำคู่มือการบำบัดด้วยคุณธรรม “รักเหนือรัก” ฯ ไปใช้พบว่า ผู้เสพยาเสพติดแอมเฟตามีนสามารถหยุดเสพได้เมื่อติดตามครบ 3 เดือนร้อยละ 98.1 ก่อนและหลังได้รับการบำบัดติดตามครบ 3 เดือน พบว่า มีคะแนนคุณภาพชีวิตและคะแนนความสามารถในการทำหน้าที่โดยรวมสูงกว่าก่อนได้รับการบำบัด ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ส่วนผู้บำบัดทุกคนมีความพึงพอใจต่อคู่มือการบำบัดด้วยคุณธรรม “รักเหนือรัก”ฯ ในระดับมากขึ้นไป จากการวิจัยครั้งนี้ การบำบัดด้วยคุณธรรม “รักเหนือรัก”ฯ เป็นการเริ่มต้นของการพัฒนาให้ผู้เสพยาเสพติดแอมเฟตามีนได้รับการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต ดังนั้นบุคลากรที่รับผิดชอบในการบำบัด ควรนำรูปแบบการบำบัดฯ นี้ ไปทดสอบประสิทธิภาพใช้กับผู้เสพสารเสพติด เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

 

Abstract

This research and developmental study was to develop the model of rehabilitation therapy for persons with amphetamine use disorder by basic Buddhist teaching of ethics“Ruk-Nuea-Ruk” (Six Saraniya-dhamma) with Five Precepts and evaluate the model implementation. The sample consisted of fifty-nine persons with amphetamine use disorder and received services at outpatient clinic, psychosocial clinic of Prasrimahabhodhi Psychiatric Hospital and Vithi-Buddhist clinic of Simuangmai Hospital, UbonRatchathani as well as five professional nurses who worked at both hospitals. The model based on guideline of research and mental health technology development. Data were analyzed by descriptive statistic and paired samples t-test.

The study demonstrated that having the manual of rehabilitation therapy for persons with amphetamine use disorder by basicBuddhist teaching of ethics “Ruk-Nuea-Ruk” (Six Saraniya-dhamma) with Five Precepts. After implementation, it found that 98.1 percentages of persons with amphetamine use disorder could stop using amphetamine within three months. Obviously, the score of quality of life and Global Assessment of Function Sale (GAF) significantly increased at after receiving the therapy at the three months follow-up period at level .05. For professional nurse, all ofthem had satisfaction for implementation at more than good level. The results of this study indicated that participating in the therapy could improve quality of life among persons with amphetamine use disorder. Therefore, therapists should apply this model for advancing quality of life among persons with amphetamine use disorder.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อัมพร สีลากุล, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

วิมาลา เจริญชัย, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี

วิไลรัตน์ สะสมผลสวัสดิ์, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี

ฉวีรักษ์ ลีลา, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี

กนกกาญจน์ วิโรจน์อุไรเรือง, จิตแพทย์ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี

ดารารัตน์ อุ่นศรี, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี